|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
มกราคม 2568 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
(เริ่มนับตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘)
|
|
วันอังคารที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับยื่นหนังสือจากนายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งพรรคประชาชนปฏิรูป โดยเสนอแนวทางการปฏิรูปพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง และระบบการเลือกตั้ง ดังนี้
1. ปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นพรรคการเมืองระดับชาติ ไม่ใช่เป็นพรรคระดับจังหวัดหรือระดับภาคมีจำนวน 70-80 พรรค จะต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดขั้นต่ำให้พรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้งขั้นต่ำเดิมส่งผู้สมัครเพียงเขตเดียวก็ได้ เสนอให้กำหนดขั้นต่ำต้องส่งผู้สมัครไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ 350 เขตหรือเท่ากับไม่น้อยกว่า 117 เขตขึ้นไป และจะต้องส่งผู้สมัครทั้ง 4 ภาค จึงจะมีสิทธิ์ส่งผู้สมัครสส.ได้ มาตรการดังกล่าวจะทำให้ยกระดับพรรคการเมืองเป็นระดับชาติ และมีจำนวนพรรคไม่มากเกินไป เป็นการลดภาระให้กกต.ในการจัดพิมพ์ประวัติและข้อมูลพรรคส่งให้ผู้มีสิทธิออกเสียง
2. ปฏิรูปให้ความสำคัญของสมาชิกพรรค ให้กกต.เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองด้วย โดยบัญญัติไว้ในกฎหมายว่า ในกรณีที่สมาชิกพรรคมีความประสงค์จะลาออกจากพรรคเดิมเพื่อไปพรรคใหม่นั้นไม่ต้องยื่นใบลาออกจากพรรคเดิมก่อน แต่ให้สมาชิกพรรคผู้นั้นยื่นความประสงค์กับพรรคใหม่ แล้วให้พรรคใหม่นำส่งใบสมัครแจ้งไปที่กกต.ในฐานะนายทะเบียนสมาชิกพรรคเพื่อลงทะเบียนให้เป็นสมาชิกของพรรคใหม่
3. ปฏิรูปการประชาสัมพันธ์ผู้สมัครดำเนินการโดยกกต. เปลี่ยนวิธีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สมัครส่งประวัติและข้อมูลส่วนตัวเขียนตามที่ต้องการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งข้อมูลและนโยบายของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดขนาดความยาว 1 หน้ากระดาษ A4 ต่อผู้สมัครหนึ่งราย ไปให้กกต.จัดพิมพ์โดยใช้งบประมาณของรัฐเพื่อนำส่งไปให้ผู้มีสิทธิออกเสียงทุกครัวเรือน เพื่อมั่นใจว่าข้อมูลของผู้สมัครทุกคนไปถึงประชาชนทุกครัวเรือนอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อรัฐเป็นผู้จัดพิมพ์และจัดส่งทำให้ผู้สมัครเสียค่าใช้จ่ายในการต้องหาเสียงแนะนำตัวเองน้อยลงมาก หรืออาจจะไม่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมให้เสียค่าใช้จ่ายอีกเลยก็ได้ ทำให้ไม่ตกอยู่ในอิทธิพลของนายทุนพรรคการเมือง หรือนายทุนธุรกิจการเมือง หรือเป็นหนี้เป็นสินจากการหาเสียงเลือกตั้ง
4. ปฏิรูปวิธีการหาเสียงโดยผู้สมัคร เมื่อกกต.มีการประชาสัมพันธ์ส่งข้อมูลผู้สมัครไปถึงผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทุกครัวเรือนแล้ว จึงควรลดการติดป้ายโฆษณาหาเสียงของผู้สมัคร ต้องมีมาตรการควบคุมการหาเสียง การใช้รถแห่ เครื่องเสียงต่างๆ โดยเทียบเคียงระบบญี่ปุ่น(JAPAN MODEL) จำกัดให้เฉพาะผู้สมัครหาเสียงด้วยตัวเองเท่านั้น อนุญาตให้มีผู้ติดตามได้ไม่เกิน 5 คน (สอดคล้องกับความเห็นของประชาชน 79.84% จากการสำรวจของนิด้าโพลล์) ใช้รถพร้อมเครื่องขยายเสียงได้ 1 คัน ห้ามไม่ให้มีการจัดเวทีการปราศรัยใหญ่ซึ่งจะมีการขนคนมาฟังปราศรัยโดยได้รับค่าตอบแทน หรือใช้รถแห่จำนวนมากเปิดเทปขยายเสียงหาเสียงเพื่อวนรอบเขตเลือกตั้งเป็นการรบกวนประชาชนทั่วไป |
|
นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการ |
นาย สุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง |
นาย อภิชาต สุขัคคานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่สอง |
นาย นรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการ |
ศาสตราจารย์ อุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการ |
นาย อมร วาณิชวิวัฒน์ กรรมการ |
ศาสตราจารย์ ชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการ |
นาง กีระณา สุมาวงศ์ กรรมการ |
นาง จุรี วิจิตรวาทการ กรรมการ |
นาย เธียรชัย ณ นคร กรรมการ |
นาย ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กรรมการ |
นาย ประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการ |
นาย ภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการ |
นาย ภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์ กรรมการ |
พลตรี วิระ โรจนวาศ กรรมการ |
นาย ศุภชัย ยาวะประภาษ กรรมการ |
นาย อัชพร จารุจินดา กรรมการ |
พลเอก อัฎฐพร เจริญพานิช กรรมการ |
นาย ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการกรรมการ คนที่หนึ่ง |
นาย ธนาวัฒน์ สังข์ทอง เลขานุการกรรมการ คนที่สอง |
นาง กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ |
รองศาสตราจารย์ เจษฎ์ โทณะวณิก ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ |
นาย สมคิด เลิศไพฑูรย์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ |
รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ |
ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวง ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ |
ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ |
นาย อธิคม อินทุภูติ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ |
|
|
|