|
|
ศ.พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา และรองประธานรัฐสภาแถลงข่าวชี้แจง ข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 13 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวานนี้ (10 ส.ค. 65)
วันที่ 11 ส.ค. 2565
|
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา ศ.พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา และรองประธานรัฐสภาแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 13 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวานนี้ (10 ส.ค. 65) ยืนยันไม่มีการรับคำสั่งจากใคร ดำเนินการทุกอย่างด้วยความถูกต้อง สำหรับประเด็น เรื่อง การนับองค์ประชุมนั้น การประชุมมีการนับองค์ประชุมด้วยเครื่องครั้งแรกมีผู้เข้าประชุมแบบนับเครื่องครั้งแรก367 คน มีผู้เข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งไป 3 คน จากนั้นมีสมาชิกพรรคเพื่อไทยขอให้นับองค์ประชุมใหม่ด้วยวิธีการขานชื่อ โดยอ้างเหตุผลว่า มีการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกันเป็นการมิชอบและมีสมาชิกรัฐสภาจากพรรคการเมืองบางพรรคและสมาชิกวุฒิสภา ขอให้ไม่ให้มีการขานชื่อใหม่แต่มีผู้เสนอให้ตรวจสอบองค์ประชุม ซึ่งการขอให้ขานชื่อนับองค์ประชุมเป็นเอกสิทธิ์ของผู้เสนอตามข้อบังคับการประชุมตนได้พิจารณาแล้วเห็นว่าถ้าปล่อยให้มีการถกเถียงกันในประเด็นดังกล่าวก็จะหาข้อยุติได้ยากและเสียเวลา การให้นับองค์ประชุมมีข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ทราบกันเกือบทั่วไปว่า สมาชิกรัฐสภาบางส่วนต้องการให้มีการปล่อยให้ร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตกไปเพราะครบกำหนด 180 วัน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 15 ส.ค. 65 และในขณะเดียวกันสมาชิกรัฐสภาบางส่วนก็เกรงว่าการจะให้ร่าง พ.ร.ป. ตกไปด้วยวิธีการไม่เข้าประชุมในการพิจารณาร่างกฎหมายนี้ ซึ่งท่านเหล่านี้ก็กังวลว่าจะเป็นการไม่ชอบ และเกรงว่าประชาชนจะเข้าใจว่า การไม่เข้าประชุมนั้นเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในความเห็นของตนที่ผ่านมามีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีการที่สมาชิกรัฐสภาจะใช้วิธีการไม่เข้าประชุม เพื่อให้ร่างกฎหมายตกไปตนจึงมีความเห็นว่าเพื่อให้เรื่องที่เกี่ยวกับวิธีการไม่เห็นชอบกฎหมายฉบับใดด้วยวิธีการทำให้ไม่เป็นองค์ประชุม เพื่อให้กฎหมายตกไปเป็นวิธีการหนึ่งที่สมาชิกรัฐสภาจะใช้ดุลพินิจปฏิบัติเช่นนั้นได้หรือไม่ ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสมาชิกรัฐสภาแต่ละท่าน ดังนั้น การที่ตนดำเนินการให้มีการนับองค์ประชุมด้วยวิธีการขานชื่อซึ่งเป็นการดำเนินการที่สมาชิกรัฐสภาจากพรรคเพื่อไทยได้เสนอไว้ เมื่อผลปรากฏออกมาว่า มีสมาชิกท่านใดที่เข้าประชุมในวันนี้ก็เป็นการยืนยันได้ว่า สมาชิกขานชื่อเป็นองค์ประชุมได้ปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจของสมาชิกรัฐสภาของตนแล้ว และเมื่อถึงวาระของการลงมติสมาชิกรัฐสภาก็อาจจะใช้ดุลพินิจของแต่ละคนในการไม่แสดงตนได้ถ้าหากมีการนัดประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันที่ 15ส.ค.65แล้วทางวุฒิสภาต้องไปร่วมประชุมซึ่งในการประชุมวันนั้นมีแนวโน้มที่สมาชิกรัฐสภาจะไม่แสดงตนเป็นองค์ประชุมอาจทำให้การประชุมล่มก็จะทำให้งานของวุฒิสภาซึ่งกำหนดไว้ ในวันที่ 15 ส.ค. 65แล้วเกิดความเสียหายเป็นอย่างมากทั้งนี้ ตนจะได้นำความกราบเรียนประธานรัฐสภาต่อไป สำหรับตำแหน่งประธานวุฒิสภานั้นสามารถแต่งตั้งโฆษกประจำตัวได้แต่ตนไม่แต่งตั้งตำแหน่งดังกล่าว เพื่อประหยัดงบประมาณของราชการ ขอใช้โอกาสนี้พูดคุยกับสื่อมวลชนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง สำหรับประเด็นเรื่องการพักประชุมเป็นเวลา 2 นาที นั้น ขอชี้แจงว่า ตนได้นั่งทำหน้าที่ประธานการประชุมมาเกือบ 4 ชั่วโมงและยังต้องนั่งประชุมต่อโดยยังไม่ทราบกำหนดระยะเวลาว่าจะต้องนั่งประชุมไปอีกนานสักเท่าไหร่ซึ่งขณะนั้น กรรมการนับองค์ประชุมใกล้เสร็จแล้วตนจึงขอพักการประชุม 2 นาทีเพื่อไปทำธุระส่วนตัวเมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จก็รีบกลับมาทันทีไม่เกิน 2 นาทีแต่มีสื่อบางสื่อเผยแพร่ข่าวกล่าวหาว่าตนออกไปรับคำสั่งหรือโทรศัพท์ถึงผู้ใด ขอสาบานต่อหน้าพระพุทธรูปบูชาและพระสยามเทวาธิราชที่ประดิษฐานประจำสภาแห่งนี้ว่ากิจกรรมของตนที่ไปเข้าห้องน้ำเพียงอย่างเดียวและรีบกลับมาทันทีหากทำตามที่ถูกกล่าวหาขอให้ความวิบัติจงมีกับตนตลอดไป สำหรับสื่อที่ลงข่าวทำให้ตนเกิดความเสียหายตนไม่ติดใจและไม่ต้องมาขอโทษอะไรแต่ผู้ที่รู้ข้อเท็จจริงแล้วยังใส่ความบิดเบือนกล่าวหาว่าสิ่งที่ตนทำไปเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะสยามเทวาธิราชของอาคารรัฐสภาแห่งนี้คงจะได้ตอบสนองความทุกข์ยากให้แก่ผู้ที่พูดไม่จริงบนแผ่นดินของรัฐสภา |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|