กลับหน้าหลัก หน้าหลัก
 
  ค้นหา :
  เมนูหลัก
 
« พฤษภาคม 2568 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
บทนำ


องค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ

 ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สามารถสื่อไปยังบุคคลต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกิดในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง สามารถส่งผลกระทบ ไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต้องการความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่ประเทศคู่กรณีเท่านั้น การทำงานของรัฐสภาก็มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐสภาของประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาของประเทศต่าง ๆ จึงเกิดความคิดที่จะตัดตั้งองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศขึ้นเพื่อใช้เป็นเวทีที่จะให้สมาชิกรัฐสภาได้มีโอกาสได้ร่วมประชุมพบปะเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน รัฐสภาไทยจึงได้ร่วมเข้าเป็นสมาชิกและร่วมจัดตั้งองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศอยู่หลายองค์การ เช่น องค์การ Asia-Pacific Parliamentary Forum (APPF) สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly -  AIPA)  การจัดตั้งองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศแต่ละองค์การก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป บางองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่มีข้อผูกมัดรัฐสภาของประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกบางองค์การก็มีการผูกมัดให้รัฐสภาที่จะเข้าเป็นสมาชิกจัดตั้งหน่วยประจำชาติขึ้นเพื่อที่จะเข้าเป็นสมาชิกและมีข้อผูกมัด ซึ่งจะต้องดำเนินการบางประการ เช่น จ่ายค่าบำรุงองค์การ อันเป็นเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนั้น ๆ

 ปัจจุบันรัฐสภาได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การรัฐสภาระหว่างประเทศที่มีกฎบัตรขององค์การเรียกร้องให้รัฐสภาจัดตั้งหน่วยประจำชาติขึ้นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎบัตรและมติขององค์การ-รัฐสภาระหว่างประเทศอยู่ ๓ องค์การ คือ
 ๑. สหภาพรัฐสภา  [Inter-Parliamentary Union (IPU)]
 ๒. สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก  [Asian-Pacific Parliamentarians’ Union (APPU) ]
 ๓. สมัชชารัฐสภาอาเซียน [ASEAN Inter -  Parliamentary Assembly   (AIPA]

และนอกจากนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาก็ได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (Association of the Secretaries General of Parliament) อีกด้วย

เว็บไซต์รัฐสภาระหว่างประเทศ