FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายบัญญัติ เจตนจันทร์ และนายพิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันแถลงข่าวว่า เมื่อเวลา 08.17 นาฬิกา ของวันนี้ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และผู้ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ได้เดินทางไปยังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ถ.แจ้งวัฒนะ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 14.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายบัญญัติ เจตนจันทร์ และ นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันแถลงข่าวว่า เมื่อเวลา 08.17 น. ของวันนี้ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และผู้ได้รับผลกระทบจากพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ได้เดินทางไปยังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ถ.แจ้งวัฒนะ เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากกระทบกับสิทธิ์ของประชาชน

นายบัญญัติ เจตนจันทร์ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีโดยกระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้จะยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ทำให้เมื่อมีกรณี ลูกหนี้ สั่งจ่ายเช็คโดยไม่มีเจตนาทุจริต แต่เช็คไม่สามารถขึ้นเงินได้ เพราะเงินในบัญชีของลูกหนี้ไม่เพียงพอ หรือที่เรียกว่า เช็คเด้ง จะเหลือเพียงมูลความผิดที่ฟ้องร้องกันทางแพ่ง ไม่มีโทษทางอาญาที่ต้องถูกปรับหรือจำคุกอีกต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีส่งมายังสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปลายปี 2565 ด้วยความพยายามของพี่น้องประชาชนผู้เดือดร้อนจึงร่วมกันผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมาย แต่สุดท้ายไม่สามารถพิจารณาได้ทันในสมัยประชุมนี้ ความหวังของพี่น้องประชาชนผู้เดือดร้อนคือ หวังว่ารัฐบาลจะเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณากฎหมายฉบับนี้ แต่ก็ดูจะริบหรี่ เพราะรัฐบาลมีปัญหาเรื่ององค์ประชุม มีประชาชนจำนวนมากเดือดร้อนหลายคนอยู่ในกระบวนการยุติธรรม หลายคนถูกจำคุก และมีหลายคนที่คิดสั้นฆ่าตัวตาย เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยใช้เงินสด และรัฐบาลอยากส่งเสริมให้มีการใช้เช็ค จึงออกกฎหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับบุคคลที่รับเช็คไป สามารถฟ้องอาญาวงเงินเกิน 50,000 บาท เนื่องจากสถานการณ์โควิด - 19 ทำให้ประชาชนหมุนเงินไม่ทันเกิดปัญหาเช็คเด้ง จนถูกดำเนินคดี  ในฐานะ ส.ส. ตนมีความเห็นใจพี่ร้องประชาชนมาก และได้พยายามผลักดันให้มีการบรรจุระเบียบวาระอย่างเร่งด่วน แต่ด้วยข้อจำกัดขององค์ประชุม และมีวาระรอพิจารณาจำนวนมากจึงไม่สามารถผลักดันให้เกิดผลสำเร็จได้ในสมัยนี้ จึงปรึกษาฝ่ายกฎหมายของพรรคพบว่ามีช่องทางหนึ่งคือยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญปี 2560 และไม่ชอบด้วยพันธะสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องของการคดีอาญาต้องไม่กระทำแก่บุคคลที่ไม่ได้มีความผิดร้ายแรงการตีเช็คเป็นเรื่องคดีแพ่ง วันนี้จึงได้ไปยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามมาตรา 23 (1) ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 ซึ่งรองเลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดินได้ออกมารับเรื่องในวันนี้ เพื่อที่จะนำไปเสนอให้คณะกรรมการผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา และประชาชนที่เป็นผู้เดือดร้อนสามารถยื่นได้ในฐานะผู้เสียหาย  ในวันนี้กลุ่มผู้เดือดร้อนจึงเข้าไปยื่นต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อส่งเรื่องด้วยให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534  ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิ์ประชาชน และก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน โดยยื่นตามมาตรา 48 ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนได้

ด้านนายพิสิฐ ลี้อาธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความพยายามในการนำเสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขกฎหมายฉบับนี้มาหลายครั้งในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร แต่เนื่องจากมีระเบียบวาระมากจึงไม่มีโอกาสนำเข้าสู่วาระจนหมดสมัยการประชุม ในเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถดำเนินการได้ จึงต้องพึ่งพาฝ่ายตุลาการ เพราะพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่นอนในเรื่องสิทธิ์ของประชาชนทำให้ประชาชนเดือดร้อนโดยใช่เหตุ นอกจากนี้กฎหมายฉบับนี้ขัดต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยลงนามไว้กับสหประชาชาติ ที่จะไม่นำบุคคลที่มีข้อพิพาททางแพ่งหรือชำระหนี้มาใช้คดีอาญา จึงอาศัยมาตรา 23 (1) ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"และผู้เดือดร้อนอาศัยมาตรา 48 ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 โดยผู้ตรวจการแผ่นดินต้องยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมด้วยความเห็นภายใน 60 วันนับแต่วันที่รับคำร้องจากผู้ร้อง เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาว่าจะมีการเพิกถอนกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ เนื่องจากมีความล้าสมัยและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน และขอเป็นกำลังใจให้กับประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการใช้เช็ค จึงขอพึ่งอำนาจของฝ่ายตุลาการ เพราะไม่อาจรอฝ่ายบริหารที่กลับเข้ามาใหม่จัดการเรื่องนี้ได้ เพราะไม่สามารถปล่อยให้ประชาชนเดือดร้อนได้

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562