ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะ กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน รับยื่นหนังสือจาก นายยศวริศ ชูกล่อม

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 12 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 15.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะ กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน รับยื่นหนังสือจาก นายยศวริศ ชูกล่อม เพื่อขอให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของ รมว.ยุติธรรม กรณีการทุจริตโครงการเช่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (กำไล EM) ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. ปล่อยปละละเลยให้กรรมการทีโออาร์ และกรรมการจัดซื้อ ทุจริตกันตั้งแต่ต้นน้ำ โดยกรรมการรับสารภาพว่าไม่เคยมาร่วมประชุมใด ๆ เลย และไม่เคยลงนามในเอกสารใด ๆ แต่ รมว.ยุติธรรม กลับปล่อยปละละเลย เพิกเฉย มิได้สั่งการหรือดำเนินการให้มีการตรวจสอบใด ๆ 
2.ปล่อยปละละเลย ให้มีการทุจริตโครงการเช่ากำไล EM ล๊อกสเปค ไม่ปรับแก้สเปค โดยอ้างว่าสเปคของศาลที่ใช้มา 6 - 7 ปี ตกยุคล้าหลังไม่ทันสมัย ทำให้ได้อุปกรณ์และระบบงานที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนได้กำไรมหาศาล
3. ไม่เปิดโอกาสให้มีการปรับแก้ไขสเปคที่ทันสมัยและมีคุณภาพดีกว่า ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาไปมาก มีความเล็กกระทัดรัด ทนทาน มีวงจรที่ทันสมัย มีคุณภาพสูงกว่ากำไล EM ที่ใช้งานอยู่ในเวลานี้ที่ใช้สเปคของศาลมาเป็นเวลานาน 6 - 7 ปี แล้ว
4. ปล่อยปละละเลย ช่วยเหลือ และเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนทุจริตโครงการเช่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (กำไล EM) ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มูลค่ากว่า 1,600 ล้านบาท โดยบริษัทเอกชนและ รมว.ยุติธรรม วิ่งเต้นไกล่เกลี่ย ล๊อบบี้ผลสอบของระยะที่ 1 ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนของคณะ กมธ. เพื่อเตรียมสร้างความชอบธรรมในการประกาศผู้ชนะการประมูลงาน ระยะที่ 2 เป็นบริษัทเดิม
5. ช่วยเหลือและเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน เพื่อเร่งประกาศผู้ชนะการประมูลงาน ระยะที่ 2 และเพื่อเตรียมของบกลางอีก 1,200 ล้านบาท สำหรับจัดเช่ากำไล EM ในระยะที่ 3 
6. ปล่อยปละละเลยให้บริษัทเอกชนและเจ้าหน้าที่ร่วมกันปกปิดข้อมูลความผิดพลาดของระบบ Monitor และอุปกรณ์กำไล EM โดยให้มีการแก้ไข Log Files หรือบันทึกการใช้งานของผู้ใส่กำไล EM ก่อนนำส่งสรุปผลและบันทึกการใช้งานของผู้ใส่กำไลเพื่อปิดบังปัญหาระบบแจ้งเตือนที่ผิดพลาด ซึ่งในแต่ละวันมีการแจ้งเตือนผิดพลาดหลายร้อยครั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเสียเวลาตรวจสอบและเพิ่มภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่
7. ช่วยเหลือให้บริษัทเอกชนเบิกเงินค่าเช่าที่เหลือในระยะที่ 1 จำนวน 241,425,000 ล้านบาท งบประมาณประจำปี 2566 (รอบเดือน ม.ค. - เม.ย. 66) โดยไม่สั่งการหรือระงับการจ่ายเงินไว้ก่อน เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรืองบประมาณของรัฐ

ด้านนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากนายชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้มารับหนังสือแทนพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้กล่าวหากระทรวงยุติธรรม  รมว.ยุติธรรม และเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลายส่วน โดยคณะ กมธ. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะ กมธ. เพื่อพิจารณา และนำไปสู่การอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติ ตามมาตรา 152 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้จะไม่มีการลงมติแต่หากมีข้อเท็จจริงและมีพยานหลักฐานที่ครบถ้วน สมบูรณ์ ก็จะนำไปสู่การร้องไปยังองค์กรอิสระต่อไป
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562