FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงข่าวกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวพาดพิงการทำหน้าที่ของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. เข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. .... ว่าเป็นคนละกรณีกันกับการลงมติใหม่ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 11 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพุธที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 13.15 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงข่าวกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวพาดพิงการทำหน้าที่ของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. เข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. .... ว่าเป็นคนละกรณีกันกับการลงมติใหม่ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... 

สืบเนื่องจากที่นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส. พรรคก้าวไกล ได้กล่าวพาดพิงโยงเรื่องการลงมติใหม่ของร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ว่า ควรนำเอาร่าง พ.ร.บ. เข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. .... มาลงมติใหม่เช่นกันว่า เป็นคนละประเด็นกัน 

วันนี้เป็นการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....  เมื่อมีการลงมติในมาตรา 8/1  ผลการลงมติได้คะแนน 339 เสียง แต่องค์ประชุมคือ 342  เสียง เพราะฉะนั้นถือว่าตอนลงมติไม่ครบองค์ประชุม ประธานที่ทำหน้าที่ประธานการประชุมจึงได้ปิดประชุม ถือเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อไม่ครบองค์ประชุมก็ต้องปิดประชุม ทั้งนี้หากมีการประชุมใหม่อีกครั้งครบองค์ประชุมเมื่อใดก็จะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ แต่ในคราวที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. พระราชบัญญัติร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยชื่อเขาชื่อถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น กรณีวันนั้นกับวันนี้ที่จะมีการลงมติใหม่ เป็นคนละเรื่องกัน และไม่เหมือนกัน

ซึ่งตนได้ชี้แจงเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร อยู่ในสภามานานและทราบว่าเป็นการเข้าใจผิดจริง ๆ และจะปล่อยให้กฎหมายที่กำลังจะตราขึ้นใหม่ผ่านสภาออกไปโดยที่มีการเข้าใจผิดไม่ได้ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างน้อย 2 ท่านด้วยกันที่ออกมายืนยันว่าลงคะแนนด้วยความเข้าใจผิด ประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ใช้อำนาจของตนเองในการตัดสินให้มีการลงคะแนนใหม่ การนับคะแนนใหม่กับการลงคะแนนใหม่ไม่เหมือนกัน การนับคะแนนใหม่ได้ถูกกำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  พ.ศ. 2562 แต่การลงคะแนนใหม่ไม่มีในข้อบังคับฯ และในข้อบังคับฯ ข้อ 32 "ประธานมีอำนาจปรึกษา หารือที่ประชุมในปัญหาใดๆ กำหนดวิธีการตรวจสอบองค์ประชุม สั่งพักการประชุม เลื่อนการประชุม หรือเลิกประชุมได้ตามที่เห็นสมควร" และในวันนั้น เมื่อประธานพบว่ามีความเข้าใจผิดในเรื่องการกดคะแนน จึงได้ปรึกษาที่ประชุมโดยการขอมติที่ประชุมว่าจะให้มีการลงคะแนนใหม่หรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับฯ ข้อ32 ซึ่งสามารถทำได้ และที่ประชุม 200 กว่าเสียงในวันนั้น มีมติว่าให้ลงคะแนนใหม่ ประธานจึงต้องทำตามมติที่ประชุม ถ้าวันนั้นสมาชิกส่วนใหญ่บอกว่าไม่ต้องลงคะแนนใหม่ ประธานก็จะไม่ให้ลงคะแนนใหม่ 

เมื่อสมาชิกฯ ยังพยายามนำเรื่องนี้มาพูดซ้ำซาก ตนก็จำเป็นต้องอธิบายให้เข้าใจว่า วันนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดในการฟังมติแล้วมีการลงมติ สมาชิกฯ บางท่านมาจากห้องอาหาร บางท่านมาจากห้องประชุม กมธ. เมื่อมาถึงไม่ทราบ จึงกดเห็นด้วย ซึ่งเป็นการเห็นด้วยกับเรื่องที่ไม่ตรงกับเนื้อหาของกฎหมายที่ดำเนินมา ประธานจึงจำเป็นที่จะต้องทำแบบนั้น เพื่อมิให้กฎหมายออกมาโดยที่เป็นการเข้าใจผิดของสมาชิกฯ ซึ่งจะทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายผิดเพี้ยนไป   
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562