FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .... คนที่สอง และนายอรรถกร ศิริลัทยากร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ และเลขานุการกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ....

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. ....  คนที่สอง และนายอรรถกร ศิริลัทยากร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ และเลขานุการกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ....  โดยวันนี้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งเป็นร่างที่อนุวัตรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 254 และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีการเสนอกฎหมายนี้เข้ามาเป็นกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ. เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ พ.ศ. .... ซึ่งผ่านการพิจารณาแล้ว และร่าง พ.ร.บ. เข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ....  ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ 

สำหรับประเด็นความขัดแย้งอยู่ที่ว่าร่างของฝ่ายรัฐบาลและร่างของนั้น อนุวัตรให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ เพียงแต่ประชาชนเข้าชื่อกันก็สามารถเสนอถอดถอนได้ แต่ยังมีแนวความคิดของ กมธ. เสียงข้างน้อย ซึ่งยึดตาม รธน. ปี 2540 และ 2550  ที่ต้องมีการลงมติก่อนจึงจะถอดถอนได้ ซึ่งข้อเท็จจริงคือ 20 ปีที่ผ่านมาก็ไม่สามารถที่จะถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นได้เลย ประกอบกับร่างใหม่ที่ตนและคณะรัฐมนตรีเสนอนั้น จะถอดถอนได้ต้องมีเงื่อนไข คือ ผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องประพฤติเสียหายร้ายแรง หรือมีเหตุการณ์ส่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือปฎิบัติหน้าที่บกพร่องแต่ไม่เท่ากฎหมายอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิถอดถอนได้ เพียงแต่เข้าชื่อกันให้มีจำนวนมากตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งตามหลักทั่วไปคือต้องมากกว่าคะแนนที่ได้รับการเลือกตั้ง  โดย กมธ. เสียงข้างมากยึดหลักที่ถูกต้องแล้ว และเป็นหลักที่คุ้มครองทั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่สำคัญคือทั้งรัฐธรรมนูญและร่างกฏหมายฉบับนี้ ต้องการคุ้มครองพี่น้องประชาชนว่าในอนาคตหากผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ต้องสามารถตรวจสอบและถอดถอนได้ โดยเฉพาะในโลกยุคใหม่ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายจนถึงกระทั่งแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้และสามารถเข้าชื่อเสนอถอดถอนตั้งแต่สมาชิกสภาท้องถิ่นจนถึงผู้บริหารระดับประเทศได้ ซึ่งถือว่าเป็นหลักการสากลที่ คณะ กมธ. ได้ยึดหลักการนี้

แต่ยังมีคณะ กมธ. เสียงข้างน้อยที่ยึดหลักการเดิมคือจะต้องทำเป็นลับ ซึ่งตนไม่เห็นด้วย เพราะโลกยุคใหม่เป็นโลกที่ควรให้ลงชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และเป็นไปอย่างโปร่งใส เพราะฉะนั้น คณะ กมธ. เสียงข้างมากจึงยืนตามหลักการ จึงเป็นประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงกันในมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 ที่จะลงมติคณะ กมธ. เสียงข้างมากเห็นด้วย ปรากฏว่ามีการลงมติที่มีการถามในเรื่องของการที่มีคณะ กมธ.เสียงข้างน้อยขอแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งคณะ กมธ.เสียงข้างมากไม่เห็นด้วย ดังนั้น ประธานจึงจำเป็นต้องถามว่า ใครเห็นด้วยกับคณะ กมธ. เสียงข้างน้อย ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรฯ ทำให้ในขณะนั้นเกิดความเข้าใจผิดในการลงคะแนน เพราะฉะนั้นการที่ประธานได้ดำเนินการให้มีการลงคะแนนใหม่ถือเป็นอำนาจของประธานในที่ประชุมตามข้อบังคับการประชุมฯ ข้อ 9 หากเห็นว่ามีการลงคะแนนเริ่มจากความเข้าใจผิดพลาดจากการตั้งประเด็นญัตติ ประธานสามารถที่จะเสนอให้มีการนับคะแนนได้ เพราะฉะนั้นการสั่งให้นับคะแนนและให้ลงมติว่าควรจะนับคะแนนใหม่หรือไม่ ตนขอยืนยันว่าประธานวินิจฉัยถูกต้อง  และไม่เคยมีมาก่อนในสมัยประชุมที่ผ่านมา เพิ่งเกิดในครั้งนี้เท่านั้น ดังนั้น การจะมากล่าวหาว่าประธานไม่ดำเนินการตามข้อบังคับฯ หรือเป็นการกระทำที่อาจนำไปสู่เสียงข้างมากลากไป นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะประธานย้ำแล้วว่าดำเนินการตามข้อบังคับฯ ตามหลักนิติธรรมอย่างชัดเจน ผลของการลงคะแนนออกมาชัดเจนว่า เสียงข้างมากเห็นด้วยกับที่ประธานวินิจฉัย แต่เมื่อมาถึงการลงมติในมาตรา 9/1 ฝ่ายค้านไม่แสดงตนในที่ประชุม จึงทำให้ไม่ครบองค์ประชุม ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตนขอเรียกร้องให้สมาชิกทุกคนเข้าร่วมประชุม เพราะเสียงข้างมากมีความจำเป็น ส่วนประเด็นที่ฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการยุบสภานั้น ตนคิดว่าเหตุการณ์วันนี้ยังไม่เป็นเหตุและปัจจัยสำคัญที่จะเรียกร้องให้มีการยุบสภาเพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือคณะรัฐบาล จึงไม่เป็นเหตุผลที่จะนำไปสู่การยุบสภาได้ 

จากนั้น นายอรรถกร ศิริลัทยากร กล่าวยืนยันว่าสิ่งที่นายชินวรณ์ชี้แจงเป็นเรื่องจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาด  เพราะข้อความในมาตรา 9/1 ขัดต่อมาตราอื่น ๆ ที่ได้ดำเนินการมา และได้มีการประสานกับคณะ กมธ. เสียงข้างน้อยว่า หากในมาตรา 9/1 เสียงส่วนใหญ่ และเสียงของสมาชิกฯ มีความต้องการอย่างไร ขอให้สมาชิกที่สงวนความเห็นยอมถอยเพื่อจะได้ประหยัดเวลาในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ระหว่างนั้นเองเกิดความผิดพลาดในการสื่อสาร เข้าใจว่าการลงมติตามคณะ กมธ. เสียงส่วนใหญ่ ซึ่งโดยปกติมักจะโหวตเห็นด้วยกับคณะกมธ.เสียงส่วนใหญ่ ยอมรับว่าเรื่องนี้มีความผิดพลาดจริง ๆ แต่ขอยืนยันว่าเสียงส่วนใหญ่ของพรรคร่วมรัฐบาลและเสียงส่วนใหญ่ของสภาฯ เห็นชอบไปในทางทิศทางเดียวกันกับนายชินวรณ์ แต่เกิดความผิดพลาด ทำให้สมาชิกหลายท่านทักท้วงเพื่อหาทางออกเพื่อให้สภาเดินหน้าต่อไป เพื่อจะได้พิจารณากฎหมายได้ แต่อย่างที่ปรากฏเมื่อเวลาผ่านไปติดปัญหาในเรื่องขององค์ประชุมไม่ครบ ทั้งนี้พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคมีความเห็นในเรื่องนี้ตรงกัน ไม่ได้เสียงแตกแต่อย่างใด
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562