|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.พรรคไทยศรีวิไลย์ และคณะ แถลงข่าว
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 9 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.พรรคไทยศรีวิไลย์ และคณะ แถลงข่าวเกี่ยวกับนโยบายแก้ปัญหาด้านสังคมของพรรคไทยศรีวิไลย์ จำนวน 2 นโยบาย ดังนี้ 1. นโยบายด้านการแก้ปัญหาผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยข้อมูลจาก BOI และสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 เปิดเผยว่า ประเทศไทย มีประชากรทั้งสิ้น 66.165 ล้านคน มีอัตราการเพิ่มของประชากรประมาณร้อยละ 0.26 ต่อปี อัตราการเกิดต่อประชากรพันคนอยู่ที่ร้อยละ 10.25 ซึ่งในปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่ทั้งหมด 5.4 แสนคน ลดลงมากกว่าครึ่งนึงของ 50 ปีก่อน ที่มีอัตราการเกิดปีละประมาณ 1 ล้านคน ถือว่าต่ำมากเป็นประวัติการณ์ และเป็นปีแรกที่มีจำนวนเด็กเกิดน้อยกว่าจำนวนคนตาย อัตราการตาย 5.63 แสนคน โดยตายมากกว่าเกิด หรือคิดเป็นร้อยละ 7.66 ต่อประชากรพันคน ซึ่งอายุขัยเฉลี่ย ผู้ชาย 74 ปี ผู้หญิง 80 ปี ทั้งนี้ จากตัวเลขการเกิดที่ลดลงดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุให้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุหรือที่เรียกว่า Baby Boomer คือ ผู้ที่เกิดช่วงปี 2489 - 2507) มีจำนวนมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ โดยปัจจัยที่ทำให้มีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นคือ คนไทยนิยมมีลูกน้อยลง ทำให้เกิดการลดลงอย่างรวดเร็วของภาวะเจริญพันธุ์จาก 42 คน ต่อประชากรพันคนในปี 2507 มาเป็น 10.9 คน ต่อประชากรพันคน ในปี 2548 และการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุขทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น จำนวนสัดส่วนของผู้สูงอายุจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยมีจำนวนผู้สูงอายุ 12,116,199 คน ในส่วนของผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ กลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น อายุ 60 - 69 ปี มีทั้งหมด 6.843 ล้านคน หรือร้อยละ 56.47 กลุ่มวัยปลาย อายุ 70 - 79 ปี มีประมาณ 3.522 ล้านคน หรือร้อยละ 29.068 และกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีประมาณ 1.75 ล้านคน หรือร้อยละ 14.44 และจากการที่ประเทศไทยก้าวเข้าภาวะผู้สูงอายุ ทำให้เกิดผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การขาดแรงงานที่จะมาทดแทนผู้สูงอายุ ทำให้เศรษฐกิจชะลอ การขาดรายได้ ผู้สูงอายุเหล่านี้เมื่อเกษียณแล้วจะไม่มีรายได้ และการพึ่งพิงรัฐบาลในการดูแลด้านสวัสดิการต่าง ๆ ผลกระทบเหล่านี้ถือเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่วนผลกระทบทางสังคม อาทิ ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง เนื่องจากลูกหลานไม่สามารถรับภาระดูแลได้ เพราะการดูแลผู้สูงอายุนั้นมีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะกระทบฐานะการเงินของผู้ที่ต้องดูแล จึงอาจถูกทอดทิ้งให้ตกอยู่ในภาวะที่ต้องช่วยเหลือตัวเอง ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เครียด มีผลต่อสุขภาพจิต โดยทางพรรคฯ มีนโยบายแนวทางแก้ไขปัญหารองรับผู้สูงอายุ ดังนี้ 1) ปฎิรูปการจ้างงานผู้สูงอายุ ปรับอายุเกษียณงานจาก 60 - 65 ปี เป็น 75 ปี ทั้งราชการและเอกชน ยืดอายุการทำงานให้กับกลุ่มผู้สูงอายุหากกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้เลือกที่จะทำงานต่อไปแทนที่จะเกษียณตัวเอง โดยใช้ญี่ปุ่นโมเดล 2) ให้รัฐบาลขอความร่วมมือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มีการจ้างแรงงานผู้สูงอายุตามความถนัดและความเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการกระจายรายได้ไปยังกลุ่มผู้สูงอายุให้ยังคงมีงานทำ และมีรายได้ 3) จัดให้มีศูนย์ฝึกอบรมฝึกอาชีพตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน และจัดตั้งศูนย์จัดหางานให้ผู้สูงอายุเหล่านี้กรณีที่ไม่สามารถหางานทำได้ด้วยตนเอง 4) กรณีลูกหลานไม่สามารถรับดูแลผู้สูงอายุได้ ให้รัฐบาลจัดทำงบศูนย์พักพิง หรือบ้านพักคนชรา และงบดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันมีบ้านพักคนชราที่เปิดให้บริการผู้สูงอายุหลายแห่ง แต่มีการเก็บค่าที่พัก อเช่น บ้านบางแค โดยผู้ที่มีฐานะต้องจ่ายค่าบำรุงแรกเข้า 300,000 บาท และค่าที่พัก 1,500 - 2,000 บาท ต่อเดือน ไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ แต่รัฐบาลจะจัดสวัสดิการดูแลคนชราจนเสียชีวิตอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน ทุกจังหวัด เป็นต้น 2. นโยบายการกระตุ้นอัตราการเกิดของประชากรเพื่อเป็นการกระตุ้นอัตราการเกิด และเพื่อลดปัญหาผู้สูงอายุล้นประเทศ จึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกมากขึ้น เราสามารถนำโมเดลเพื่อนบ้านมาใช้ได้ อย่างเช่นจีน กระตุ้นให้มีลูกได้ 3 คน ในส่วนของประเทศไทย ด้วยค่าครองชีพที่สูงค่าแรงที่ต่ำ และชนชั้นล่างและกลางมีมากกว่าชนชั้นสูง อาจลดเหลือ 2 คน โดยที่รัฐบาลต้องมีสวัสดิการรองรับเด็กที่เกิดใหม่ดังนี้ 1) มอบเงินขวัญถุงทันที่ที่เด็กเกิดมา 10,000 บาท พร้อมด้วย E- voucher สำหรับคุณแม่ไปใช้จ่ายของจำเป็นสำหรับเด็ก อีกเดือนละ 3,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน โดยโอนเข้าบัญชีทุกสิ้นเดือน 2) ค่าลดหย่อนบุตร จากเดิมลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อปี เพิ่มเป็น 100,000 บาทต่อปี สำหรับลูกคนแรก คนที่ 2 และคนถัด ๆ ไป 3) เงินสนับสนุนรายเดือน ลูกคนแรกและคนที่ 2 จากเดิมเดือนละ 600 บาท เป็นเดือนละ 2,000 บาท เป็นเวลา 180 วัน ในช่วงลาคลอด หลังจากนั้น เหลือเดือนละ 1,500 บาท จนอายุครบ 6 ปี 4) หากมีการจ้างเลี้ยงลูก ให้นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนคำนวณภาษีได้ โดยหักได้ไม่เกินเดือนละ 6,000 บาท 5) สนับสนุนค่าบำรุงการศึกษาในระดับอนุบาลและประถมในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับลูกที่เกิดคนแรกและคนที่ 2 ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าบำรุงการศึกษาปกติ 6) มีเงินอุดหนุนคู่รักที่แต่งงานกันแล้วหรือจดทะเบียนสมรสแล้ว ให้ไปท่องเที่ยวช่วงฮันนีมูน โดยรัฐสนับสนุนค่าโรงแรม ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าอาหาร ไม่เกินรายละ 20,000 บาท 7) ผู้หญิงที่มีบุตรยาก รัฐสนับสนุนออกค่าใช้จ่ายทำเด็กหลอดแก้วร้อยละ 100 หรือ IUI เฉพาะบุตรคนแรก เฉพาะโรงพยาบาลรัฐ ส่วนเอกชนรัฐบาลออกให้ร้อยละ 50 ร่วมทั้งรัฐบาลสนับสนุนยาเพิ่มปริมาณอสุจิให้ฝ่ายชายแข็งแรง มีความสมบูรณ์ ส่วนฝ่ายหญิงจะสนับสนุนยาบำรุงคุณภาพไข่มดลูกให้เหมาะแก่การมีบุตร 8) ผู้หญิงที่รับราชการหรือทำงานเอกชน สามารถลาคลอดได้ 180 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาและได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน และส่งเสริมให้ฝ่ายชาย ได้ช่วยฝ่ายหญิงเลี้ยงดูบุตร ได้ไม่เกิน 30 วัน โดยได้รับเงินเดือนปกติ และไม่ถือว่าขาดงาน |
|
|
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
|
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า |
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
|
|
|
|
|
|
|