FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. …. และคณะ แถลงข่าวว่า เนื่องจากกรณีที่มีการแถลงข่าวจากพรรคการเมืองเกิดทั้งสองพรรคคือพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ว่าไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. ….

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 14 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพุธที่ 14 กันยายน 2565 เวลา 15.15 น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. …. และคณะ แถลงข่าวว่า เนื่องจากกรณีที่มีการแถลงข่าวจากพรรคการเมืองเกิดทั้งสองพรรคคือพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ว่าไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.กัญชา กันชง พ.ศ. …. และทั้งสองพรรคก็มีแนวคิดว่าอยากจะให้กลับไปเป็นยาเสพติดใหม่

ขอเรียนให้ทราบว่าสิ่งที่คณะกรรมาธิการได้ทำการระดมสรรพกำลังนับตั้งแต่เกิดสุญญากาศทางข้อกฎหมาย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุขได้ออกมาตรการจำนวนมากเพื่อคุ้มครองสังคมในช่วงที่รอกฎหมาย พ.ร.บ.กัญชา กันชง แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ดีพอสมควร แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับร่าง พ.ร.บ.กัญชา กันชง ที่มีความรัดกุม รอบคอบหลายมิติ และหากกฎหมายฉบับนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบฝ่ายการเมืองควรคำนึงว่าสถานการณ์เดิมที่เราพยายามให้อยู่ในช่วงการสุญญากาศให้สั้นที่สุดจะยังคงดำรงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าตั้งข้อสังเกตคือ 
1.การที่กัญชาได้ถูกกำหนดให้ออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เกิดขึ้นครั้งแรกวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ในครั้งนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาตรา 29 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและไม่ปรากฏรายชื่อกัญชาอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 5 อีกต่อไป ซึ่งการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในครั้งนั้นไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขมาตรา 29 ที่ไม่มีกัญชาแล้ว ทั้งจากประชาธิปัตย์และเพื่อไทย และต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ลงมติเห็นชอบกับประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่แก้ไขทั้งฉบับ 467 เสียงเป็นเอกฉันท์ โดยไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยออกเสียงคัดค้านประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ไม่มีกัญชาแม้แต่คนเดียว แสดงว่ามีส่วนร่วมอย่างยิ่งในการเอากัญชาออกจากยาเสพติด
2.ภายใต้ผู้แทนปวงชนชาวไทยซึ่งลงมติไปแล้วตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ให้กัญชาไม่ใช่ยาเสพติด ได้ปรากฏว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดก็ต้องดำเนินรอยตามความเห็นของผู้แทนปวงชนชาวไทยคือ สมาชิกรัฐสภา จึงได้ลงมติเห็นชอบตามคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้กัญชาออกจากยาเสพติดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 และให้มีผลบังคับใช้วันที่ 9 มิถุนายน 2565
3.ร่างพ.ร.บ.กัญชา กัญชง ซึ่งริเริ่มนำเสนอโดยพรรคภูมิใจไทย เสนอต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทยได้เสนอตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2565 แต่กว่าจะมีการประชุมเพื่อรับหลักการได้คือวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ปรากฏว่าเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบในกฎหมายฉบับนี้มากถึง 373 เสียง ไม่เห็นชอบเพียง 7 เสียง และเสียงข้างมากจากทางพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ เห็นชอบด้วยในการรับหลักการของกฎหมายฉบับนี้
4.จากคราวที่พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์เห็นชอบด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ในวาระรับหลักการนั้น กฎหมายในขณะนั้นมีเพียงแค่ 45 มาตราเท่านั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังเห็นชอบเกือบเป็นเอกฉันท์ แต่เมื่อได้มีการปรับปรุงแก้ไข โดยคณะกรรมาธิการได้มีการประชุมเพื่อพิจารณา โดยได้ร่วมระดมสรรพกำลังในการประชุมกว่าจำนวน 19 ครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านและได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทางพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ตลอดจนให้มีการสงวนคำแปรญัตติรายมาตรา ตามกระบวนการที่เห็นว่าเป็นไปตามที่เห็นชอบของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก 

ทั้งนี้ ในท้ายที่สุดด้วยความรอบคอบรัดกุมนั้น เพิ่มมากขึ้นจากที่เคยมีการลงมติวันที่ 8 มิถุนายน 2565 จากเดิมมีเพียง 45 มาตรา เพิ่มเป็น 95 มาตรา ซึ่งเพิ่มขึ้น 50 มาตราและมาตราที่เพิ่มขึ้นนั้นล้วนแล้วแต่เป็นมาตราที่มีบทบัญญัติการควบคุมสังคม ควบคุมเยาวชน ควบคุมวิธีการขาย ควบคุมสถานที่ขาย ควบคุมวิธีการใช้ที่เข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม ดังนั้น ในกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์บอกว่ารับหลักการไปแล้วนึกว่า ร่างกฎหมายจะมีความรัดกุม ไม่มีความละหลวม ทั้งที่ความเป็นจริงเข้มข้นมากกว่าเมื่อคราวการลงมติรับหลักการนั้น ขอเรียนให้ทราบว่าแม้แต่เสียงพรรคประชาธิปัตย์เราก็รับฟัง และสมาชิกฯ ของพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมาธิการ รวมทั้งกรรมาธิการก็มีที่มาจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ ในการประชุมคณะกรรมาธิการ เนื่องจากมีความหลากหลายทางความเห็นในขณะนั้น จึงตัดสินใจว่าจะรับฟังความคิดเห็นจากที่ปรึกษา และจากรอบด้าน จึงออกมาเป็นกฎหมายร่างพ.ร.บ.กัญชา กันชง ที่มีที่ปรึกษามากกว่าจำนวนกรรมาธิการ และมีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน โดยได้เชิญกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนดูผลสำรวจว่าประชาชนต้องการปริมาณการปลูกจำนวนกี่ต้น เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนทางการแพทย์ กลุ่มทุนที่ต้องการการผูกขาดและต้องการให้กัญชาเป็นของประชาชน สิ่งที่สมาชิกฯ กำลังแถลงในวันนี้ขัดแย้งกับการที่สมาชิกลงมติ และขอยืนยันว่าสิ่งที่ กมธ.เสนออยู่ในขณะนี้รัดกุม และรอบคอบกว่าวันที่ลงมติรับหลักการในวันที่ 8 มิถุนายน 2565 อย่างชัดเจน และกฎหมายฉบับนี้ไม่มีทางปล่อยให้กัญชาเป็นยาเสพติด เพราะรัฐสภาเห็นชอบเองตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ในประมวลกฎหมายยาเสพติดให้กัญชาออกจากยาเสพติดอย่างเป็นเอกฉันท์ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล จึงขอวิงวอนว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่ของพรรคภูมิใจไทยอีกต่อไปกำเนิดขึ้นเพราะเสียงเรียกร้องของประชาชนเกิดขึ้นเพราะมีประชาชนต้องใช้กัญชาทางการแพทย์ ตลอดจนมีกระบวนการทางใต้ดินจำนวนมากกำลังถูกจับและถูก ถูกรีดไถอย่างไม่เป็นธรรม กฎหมายฉบับนี้เกิดจากความทุ่มเทจากทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันทุ่มเทตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาด้วยความเร่งรัดและรัดกุม เพราะมีความเป็นห่วงว่าจะเกิดสุญญากาศขึ้นในสังคม ด้วยความเป็นห่วงคณะ กมธ. จึงได้ทุ่มเทสรรพกำลังในการพิจารณา จนก่อให้เกิดการบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมในวันนี้ และไม่มีวันจะถอนออกจากระเบียบวาระการประชุมของสภาฯ และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าผู้แทนทางการเมืองกำลังเล่นเกมการเมืองหรือฟังเสียงประชาชนอย่างแท้จริง สุดท้ายนี้วอนขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562