FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายณัฐกานต์ ชูชนะ เลขานุการคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก น.ส.ธนพร วิจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนคัดค้าน ม. 272 เรื่อง ขอให้พิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญ ม. 272 โดยเร็ว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 6 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันอังคารที่ 6 กันยายน 2565 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายณัฐกานต์ ชูชนะ เลขานุการคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก น.ส.ธนพร วิจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนคัดค้าน ม. 272  เรื่อง ขอให้พิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญ ม. 272 โดยเร็ว 

เนื่องด้วยวันที่ 6 -7 ก.ย. 65 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เสนอโดยการเข้าชื่อของภาคประชาชน ซึ่งเป็นข้อเสนอให้ยกเลิก ม. 272 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 หรือการตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการลงมติเลือกบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรี เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนฯ เห็นว่า อำนาจพิเศษของสมาชิกวุฒิสภาที่มีที่มาแบบพิเศษนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐสภาแห่งนี้ไม่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือและทำให้รัฐบาลที่มาจากเสียงสนับสนุนของสมาชิกวุฒิสภาขาดความชอบธรรม ขาดความยึดโยงกับประชาชน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในปัจจุบัน 

นับตั้งแต่ คสช. ทำรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2557 ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศไปไว้ในมือคนกลุ่มเดียวและยังไม่คืนอำนาจให้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ยังคงยึดกุมอำนาจไว้ด้วยกลไกหลากหลายในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รวมไปถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประกาศและคำสั่งของ คสช.และองค์กรอีกมากมายที่ถูกแต่งตั้งขึ้น ทั้งนี้เครื่องมือที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดจากผลพวงเหล่านั้นคือ อำนาจของวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นเป็นปัจจัยที่กำลังนำไปสู่การสืบทอดอำนาจของคนกลุ่มเดิมต่อไป ซึ่งกลไกที่จะคืนอำนาจให้ประชาชน คือ การจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่บริสุทธิ์ โปร่งใสและเป็นธรรมโดยเร็ว ซึ่งการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ จะไม่มีทางเป็นธรรมและไม่เป็นที่ยอมรับจากประชาชนได้หากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก คสช.  ยังคงมีอำนาจเหนือประชาชน และยังสามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไปและรัฐบาลชุดต่อไปได้ เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนฯ จึงมีความเห็นร่วมกันว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในอนาคตนั้นจะต้องมีที่มาจากระบบประชาธิปไตยที่ยึดโยงกับประชาชน จึงเสนอให้ที่ประชุมรัฐสภาเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นต่อแนวทางดังกล่าว โดยจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกอำนาจพิเศษของสมาชิกวุฒิสภาตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ม. 272 ซึ่งถือว่าภารกิจดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ลดหายไปในที่สุด ซึ่งข้อเสนอจากภาคประชาชนคือให้ยกเลิกม. 272 ถูกบรรจุอยู่ในระเบียบวาระแล้ว เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนฯ จึงขอให้ที่ประชุมร่วมของรัฐสภานำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาโดยเร็ว และเนื่องจากเป็นข้อเสนอให้แก้ไขเพียงการตัดข้อความออก 5 บรรทัด ไม่มีการเพิ่มข้อความใดเข้ามาใหม่ และไม่ได้มีถ้อยคำที่ต้องพิจารณาลงรายละเอียด ไม่กระทบกับมาตราอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญ และไม่เคยมีเหตุผลใดที่จะเห็นคัดค้านเป็นอย่างอื่นได้ จึงขอให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาลงมติเห็นชอบ สามวาระรวด ภายในวันที่ 7  ก.ย. 65 เพื่อไม่ให้เป็นการ ยืดเยื้อออกไปโดยไม่จำเป็น 

นายณัฐกานต์ ชูชนะ กล่าวว่า ขณะนี้ประธานรัฐสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมอยู่ จึงมอบหมายให้ตนเป็นตัวแทนมารับหนังสือ หลังจากนี้จะนำหนังสือเข้าสู่ระบบสารบัญของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผลการดำเนินการเป็นอย่างไรจะมีหนังสือตอบกลับไปยังกลุ่มผู้ยื่นหนังสือต่อไป

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562