ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พรรคก้าวไกล แถลงข่าว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 14.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พรรคก้าวไกล แถลงข่าวเกี่ยวกับการยื่นร่าง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขมาตรา 1567 (2))  สืบเนื่องกรณีที่ผู้ปกครองใน จ.พิษณุโลก ได้ลงโทษบุตรอายุ 2 ปี จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนเหตุการณ์ความรุนแรงอีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 เขียนไว้ว่า “ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน” ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เขียนไว้อย่างกว้างและคำว่า “ตามสมควร” นั้น ไม่มีมาตรฐาน และไม่มีการกำหนดว่าหนักเบาได้เพียงใด อีกทั้งไม่มีการกำหนดเรื่องสิทธิเด็กอยู่ในข้อกฎหมายดังกล่าว ประกอบกับวัฒนธรรมไทยและสุภาษิตไทยที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” ที่มีมายาวนาน แต่ด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไปก่อให้เกิดการทารุณกรรมขึ้น ผนวกกับสภาพเศรษฐกิจและความเครียดของคนในครอบครัวส่งผลให้เด็กต้องเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว และต่อมาเมื่อเด็กได้เติบโตขึ้นอาจกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้ความรุนแรงในสังคมได้ ทั้งนี้ ก้าวแรกคือการแก้ไขกฎหมายที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับไม่ได้มีการแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม พยายามแก้ไขกฎหมาย แต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด และในทุกครั้งที่กฎหมายนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้มีเด็กและครอบครัวที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น พรรคก้าวไกล โดย นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ผู้ที่เคลื่อนไหวเรื่องนโยบายของสิทธิเด็กมาโดยตลอด เป็นผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้น แต่เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 และมีความกังวลว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะเข้าสู่ที่ประชุมล่าช้า จึงให้ตนเป็นผู้ยื่นร่างกฎหมายฉบับนี้ก่อน ซึ่งสาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ ได้เสนอให้เปลี่ยนจาก “ทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนตามสมควร” โดยให้เพิ่มข้อความว่า”แต่ต้องไม่เป็นการกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ไม่เป็นการเฆี่ยนตีหรือทำโทษอื่นใดอันเป็นการด้อยค่า” ไม่ว่าจะเป็น การกดขี่ในเรื่องเพศอัตลักษณ์ สีผิว หน้าตา สภาพร่างกาย นี่คือการปกป้องสิทธิของเด็กจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ทั้งนี้ คาดว่าเรื่องนี้จะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ทันในการพิจารณาในสมัยหน้าให้แล้วเสร็จ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานของประเทศให้สอดคล้องกับสากล โดยการลงโทษนั้น ควรใช้วิธีการที่มีความเหมาะสม สั่งสอนลูกในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งมีวิธีอื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่ต้องใช้ความรุนแรง ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครองควรเข้าใจถึงพัฒนาการและปัญหาของเด็กมากขึ้น อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ การแก้ไขเพียงมาตราเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องสนับสนุนผู้ปกครองร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น การกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ ทางการศึกษา การส่งเสริมรัฐสวัสดิการ การกำหนดวันลาคลอด และประเด็นอื่น ๆ อีกหลายประเด็นที่จะทำให้ครอบครัวเป็นครอบครัวที่แท้จริง และควรหยุดวงจรการทารุณกรรมและการทำโทษที่เกินกว่าเหตุ ตลอดจนกำหนดให้สิทธิเด็กเป็นวาระทางสังคมของประเทศไทย
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562