ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รศ.สุรวาท ทองบุ รองประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... คนที่หก และคณะ รับยื่นหนังสือจากนายวิชาญ ชัยชมภู นายกสมาคมลูกจ้างส่วนราชการการศึกษา
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 10.45 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา รศ.สุรวาท ทองบุ รองประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... คนที่หก และคณะ รับยื่นหนังสือจากนายวิชาญ ชัยชมภู นายกสมาคมลูกจ้างส่วนราชการการศึกษา เรื่อง ขอตำแหน่งภารโรงคืนให้โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สืบเนื่องจาก ในปี 2548 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐ โดยให้ยุบเลิกตำแหน่งลูกจัางประจำที่เกษียณอายุราชการ ลาออกจากราชการ และเสียชีวิต จึงทำให้โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ไม่รับลูกจ้างประจำในตำแหน่งภารโรง ทำให้ขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษา ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการศึกษาหลายประการ และทำให้การจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพตามที่สังคมคาดหวัง และมีผลกระทบต่อสถานศึกษา ดังนี้
1. คุณภาพการศึกษาของนักเรียนที่เป็นผลผลิตสำคัญลดลง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเนื่องจากครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา มีภาระบริหารจัดการเพิ่มขึ้น การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนลดลง
2. นักเรียนขาดความมั่นใจ ขาดความปลอดภัยในการไป - กลับโรงเรียน และขณะอยู่ในโรงเรียน ในกรณีโรงเรียนอยู่ห่างไกล เปลี่ยว ขาดครูชาย ไม่มีนักการภารโรง ดูแลความปลอดภัย และเป็นเวรยาม แม้แต่ในช่วงเวลากลางวัน
3. เพิ่มภาระให้ครูและผู้บริหาร ต้องบริหารจัดการงานธุรการ อาคารสถานที่ ความสะอาดห้องน้ำ อาคารเรียน ห้องสุขา สนามบริเวณ สอนหย่อม ต้นไม้ ภูมิทัศน์ แปลงเกษตรกรรม และบั่นทอนเวลาจัดการเรียนการสอน
4. เพิ่มภาระงบประมาณของโรงเรียนในการจัดหา จัดจ้างบุคลากรภายนอกมาทำความสะอาด อยู่เวรยาม ดูแลอาคารสถานที่ ต้นไม้ ถนน สนามกีฬา แปลงเกษตรกรรม และงานอื่น ๆ สิ้นเปลืองงบประมาณทุกปี
5. องค์กรหรือสถาบันโรงเรียนไม่เข้มแข็ง ขาดปัจจัยและองค์ประกอบการบริหารจัดการ ไม่สามารถพัฒนาไปได้ด้วยดี ต้องเสียเวลากับการบริหารจัดการงานพื้นฐานภายใน ไม่สามารถแข่งขันหรือทัดเทียมกับองค์กรอื่นหรือองค์กรใหม่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเอกชน เป็นต้น
6. ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ไม่เชื่อมั่นในสถาบันการโรงเรียน พบข้อบกพร่อง ความไม่พอเพียงในการให้บริการ การให้ความสะดวกต่าง ๆ เมื่อเทียบกับที่อื่น อาจเป็นเหตุให้นำนักเรียนออกไปเรียนที่อื่นหรือไม่ส่งเสริมชักชวนนักเรียนให้เข้ามาเรียน
7. โรงเรียนขาดการพัฒนาทางกายภาพ ภูมิทัศน์ ขาดการปรับปรุงตกแต่ง ไม่สะอาดร่มรื่นสวยงาม ไม่มีบรรยากาศในการส่งเสริมการเรียนการสอน ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน ตลอดจน ผู้ปกครอง ชุมชน ที่พบเห็น
8. นักการภารโรงที่คงอยู่มีน้อย ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ภาระงานเพิ่มมากขึ้นไม่มั่นใจในชีวิตการทำงาน คุณภาพของงานด้อยลง ส่งผลถึงคุณภาพการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
9. สถานศึกษาขาดคนทำหน้าที่พิทักษ์ รักษาทรัพย์สินของราชการให้ได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
ด้าน รศ.สุรวาท ทองบุ กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะ กมธ. เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของโรงเรียน โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพทางการศึกษาต่อไป
Download all images
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา