วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 13.20 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน พร้อมด้วย นายจรัส คุ้มไข่น้ำ เลขานุการคณะ กมธ. รับยื่นหนังสือจาก นายมานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะ เรื่องขอคัดค้านและให้ถอนร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.
.
ตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.
. โดยอ้างถึงหลักการปรับปรุงกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 65 และขอให้กระทรวงแรงงานได้ทบทวนร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.
. โดยเสนอให้ รมว.แรงงาน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นหนังสือ ลงวันที่ 6 ธ.ค. 63 โดยในภายหลังพบว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาจนปรากฏว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยอ้างถึงเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อให้การจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การระงับข้อพิพาทแรงงาน การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน การปิดงานและการนัดหยุดงาน รวมทั้ง การจัดตั้งการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ และสภาองค์การลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ โดย สรส. มีความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ประกอบข้อเสนอต่อรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน ดังนี้ 1. ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กำหนดให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานตามอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม 2. ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีบทบัญญัติที่ลดทอนความเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่สามารถเข้าถึงและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน 3. ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ลดความสำคัญและจำกัดสิทธิเสรีภาพขององค์กรลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจ 4. ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีแนวคิดเพื่อทำลายระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในระดับทวิภาคี ที่สหภาพแรงงานและนายจ้างจะไม่สามารถกำหนดผู้แทนในการเจรจาต่อรองร่วมกันได้ 5. ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ขัดต่อบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 4
ทั้งนี้ สสร.จึงขอเสนอเร่งด่วนต่อรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน ดังนี้ 1. ขอค้านร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.
. 2. ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 แล้วจึงปรับปรุงกดหมายแรงงานของไทยให้เป็นไปอย่างมีส่วนร่วมโดยแท้จริง 3. ขอให้ปรับปรุงกฎหมายแรงงานของประเทศไทยให้มีเพียงฉบับเดียวและครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน
โดย นายสุเทพ อู่อ้น กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ยินดีน้อมรับเรื่องดังกล่าวเพื่อนำไปดำเนินการตามขั้นตอนและส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป และขอบคุณที่ไว้วางใจคณะ กมธ.และสภาในการช่วยดำเนินการส่งต่อและรับข้อเสนอแนะตามที่ สสร. เสนอ ตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเคยกล่าวไว้ว่าสภาเป็นสถานที่ที่สมาชิกฯ เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทนเพื่อประชาชน และประชาชนสามารถเข้ามายื่นเรื่องร้องเรียนและปัญหาความเดือดร้อนเพื่อให้สภาช่วยแก้ไขปัญหาได้ทุกเมื่อ
|