FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. และร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ….”

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 09.50 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา B 1 - 6 ชั้น B 1 อาคารรัฐสภา นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. และร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ….” โดยมี นายจรัส คุ้มไข่น้ำ เลขานุการคณะ กมธ. และนายทองแดง เบ็ญจะปัก ส.ส.พรรคก้าวไกล ร่วมพิธี 

จากนั้นเป็นการอภิปรายและเสวนา เรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. และร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ….” ประเด็น : ความคืบหน้าในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับและขั้นตอนการดำเนินการในระยะต่อไป โดย นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน น.ส.กาญจนา พูลแก้ว รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และเรือเอก จักรทิพย์ กล่ำเสือ อดีตสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดมหาสารคาม 

ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการอภิปรายและเสวนา เรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. และร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ….” ประเด็น : ปัญหาและผลกระทบหากมีการประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดย นายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย น.ส.อัปสร กฤษณะสมิต ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และนายสมชาย หอมลออ เลขานุการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

สำหรับโครงการสัมมนาดังกล่าวจัดโดย คณะ กมธ.การแรงงาน มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 100 คน ประกอบด้วย คณะ กมธ.การแรงงาน องค์กรแรงงานภาคเอกชน องค์กรแรงงานภาครัฐวิสาหกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ สืบเนื่องจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้มีการแก้ไขปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .… และร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. …. ซึ่งได้มีการเปิดรับฟังความเห็นและจัดทำรายงานเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตรากฎหมาย และได้ปิดการรับฟังความเห็นไปแล้วเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. แล้วเสร็จเมื่อเดือน พ.ค. 2565 ได้มีองค์กรแรงงานต่าง ๆ จากภาคเอกชนมายื่นข้อเรียกร้องเพื่อคัดค้านในเนื้อหาสาระบางประการ ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงได้มีการจัดทำหนังสือไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขแล้วก็จะส่งกลับมายังกระทรวงแรงงานเพื่อยืนยันและส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ส่วนร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .… กระทรวงแรงงานได้มีการสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและเผยแพร่เป็นการเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างการนำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และนอกจากการปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นายสุเทพ อู่อ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ ได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .… ซึ่งได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 65 - 23 มิ.ย. 65 และถูกบรรจุอยู่ในวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 65 ทั้งนี้ คณะ กมธ.การแรงงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจในข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงาน ประกอบกับคนทำงานด้านแรงงานควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการเกี่ยวกับขั้นตอน หลักเกณฑ์ และแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ อีกทั้งยังเป็นการปกป้องและคุ้มครองสิทธิประโยชน์อันชอบธรรมของแรงงานที่มีมิติมุมมองที่แตกต่าง ตลอดจนยังเป็นการส่งเสริมให้ขบวนการแรงงานมีความเป็นปึกแผ่นเข้มแข็ง และเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานระหว่างประเทศด้านแรงงาน จึงได้จัดสัมมนาเพื่อรับฟังและรวบรวมความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตรา พ.ร.บ. ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนอันจะนำไปสู่การส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเป็นกลไกทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานส่งผลต่อสุขภาวะทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม สภาพการจ้างและสภาพการทำงาน และส่งผลให้เกิดการยอมรับในระดับสากลต่อไป

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562