ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา โฆษกคณะ กมธ. การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน แถลงข่าวผลการประชุมคณะ กมธ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 18 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม
2565 เวลา 14.45 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา โฆษกคณะ กมธ. การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน แถลงข่าวผลการประชุมคณะ กมธ เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 65 ว่า คณะ กมธ. ได้มีการพิจารณาศึกษาปัญหาผลกระทบด้านสื่อสารมวลชนที่มีต่อประชาชน กรณีสื่อ Social Media และการป้องกันมิจฉาชีพในรูปแบบออนไลน์ โดยเชิญ ผู้แทน Facebook Thailand อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้มีการอภิปราย เกี่ยวกับแนวทางและมาตรการในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนให้ได้รู้เท่าทัน จากกรณีการใช้สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงให้มีการลงทุน การแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ การเสนอข้อมูลผ่านการโฆษณา การเสนอข่าวสารการส่งต่อข้อมูลหรือข้อความ โดยไม่มีการตรวจสอบแหล่งที่มาและความถูกต้องก่อนการส่งต่อ อันเป็นเหตุให้มีผู้ถูกหลอกลวงร่วมลงทุนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก คณะกมธ. ขอให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการหาแนวทางและมีมาตรการมาควบคุมและป้องกันมิจฉาชีพในรูปแบบออนไลน์ โดยผู้แทนจากองค์กรด้านสื่อมวลชน ให้ความเห็นว่า องค์กรด้านสื่อมวลชน ในแต่ละองค์กร ต่างก็มีจรรยาบรรณในการควบคุม โดยไม่มีการบังคับ แต่เป็นความสมัครใจ ปัจจุบัน ช่องทางการสื่อสาร มีความทันสมัย และหลากหลาย ประชาชนสามารถทำหน้าที่ เป็นสื่อมวลชน ได้โดยอิสระ แตกต่างจากสำนักข่าวต่าง ๆ จะมีบรรณาธิการ ในการควบคุมเนื้อหาว่าส่วนใดเป็นข่าวสาร ส่วนใดเป็น การโฆษณา ก่อนมีการเผยแพร่ แต่ปัจจุบัน มีการแข่งขัน ทางธุรกิจ ผ่านสื่อออนไลน์ หลายช่องทาง จึงยากต่อ การควบคุม นอกจากการ กำหนด ให้มี จริยธรรมของสื่อ และในการนำเสนอข้อมูล ควรมีการใช้ มาตรการ ทางกฎหมายมาลงโทษผู้กระทำผิด ที่ทำให้เกิดความ เสียหาย ต่อประชาชนและสังคม ที่ประชุมมีความเห็นว่า จะมีการพิจารณาศึกษาปัญหาผลกระทบด้านสื่อสารมวลชนที่มีต่อประชาชน กรณีสื่อ Social Media และการป้องกันมิจฉาชีพในรูปแบบออนไลน์ อีกครั้ง โดยจะมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ สภาการสื่อสารมวลชนแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา รวมถึงผู้แทนองค์กรด้านสื่อสารมวลชน โดยจะมีการประชุมในวันพุธที่ 7 กันยายน 2565 โดยขอให้หน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม นำเสนอข้อมูลสถิติ ต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่เกิดจากการใช้ช่องทางสื่อ Social Media การนำเสนอประเด็นทางกฎหมายที่เห็นว่ามีส่วนใดที่ควรมีการแก้ไขปรับปรุงให้มีความทันสมัย และ ข้อเสนอแนะอื่นที่เป็นประโยชน์ เพื่อการป้องกันมิจฉาชีพในรูปแบบออนไลน์ ตามหน้าที่และอำนาจของคณะ กมธ. พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อไป
Download all images
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา