FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ และนายแทนคุณ จิตต์อิสระ โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. ....
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 6 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.15 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ และนายแทนคุณ จิตต์อิสระ โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... ซึ่งคณะ กมธ. ได้พิจารณาเรียงตามมาตรา โดยในมาตรา 1 ชื่อร่าง ไม่มีการแก้ไข มาตรา 2 เรื่องของระยะเวลาหลังจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. คณะ กมธ. เห็นชอบในระยะเวลา 120 วัน เพื่อไม่ให้เป็นการหน่วงโอกาสที่คู่ชีวิตหรือคู่สมรสจะใช้สิทธิในการจดทะเบียน ส่วนมาตรา 3 เรื่องของสิทธิและสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียม ซึ่งมี 2 ประเด็น คือ
1. สิทธินี้จะใช้กับคู่รักเพศเดียวกันหรือคู่รักทุกคนไม่ระบุเพศ
2. เรื่องของสัญชาติ โดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องมีสัญชาติไทยจึงจะใช้ พ.ร.บ.คู่ชีวิตนี้ได้
ซึ่งที่ประชุมในวันนี้ มีมติให้ใช้คำดังนี้ "คู่ชีวิตหมายความว่าบุคคลสองคนซึ่งได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.นี้" จึงหมายความว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ควรใช้กับทุกเพศอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของข้อจำกัดบางประการซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ อาทิ กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก กฎหมายเรื่องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ การประกันสังคม การคุ้มครองพยาน การคุ้มครองแรงงาน การคุ้มครองผู้ถูกกระทำในครอบครัว และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งยังให้สิทธิในการถูกเรียกเป็นสามีหรือภรรยา โดยคณะ กมธ. พยายามพิจารณาว่าทำอย่างไรจะไม่ให้สิทธิของผู้ได้รับสิทธิเดิมถูกกระทบโดยคำนึงถึงความลื่นไหลทางเพศคือการเปิดกว้างให้ทุกเพศสามารถมีพัฒนาการของเพศตามความลื่นไหล ตามความพึงใจ ตามโอกาส และตามบริบทของสังคม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงและเป็นเหตุผลในการปรับเพิ่มในมาตรา 3 ที่ไม่ใช่เพียงชาย หญิง แต่ควรเป็นบุคคล ทั้งนี้ การสมรสและการเป็นคู่ชีวิตในต่างประเทศนั้นมีหลายรูปแบบ อาทิ การเป็นเพศเดียวกันมีอยู่ใน 31 ประเทศ มีลักษณะเป็น พ.ร.บ.คู่ชีวิต 44 ประเทศ ให้สมรสได้ 2 แบบ คือ ทั้งแบบสมรสเท่าเทียมกับแบบคู่ชีวิต แล้วแต่จะเลือก 25 ประเทศ และให้บุคคลคนละเพศสามารถจดคู่ชีวิตได้ 30 ประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น จะใช้เทียบเคียงกับประเทศฝรั่งเศสซึ่งให้สิทธิคู่ชีวิตและคู่สมรสในการจดทะเบียนได้
Download all images
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา