FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายนิติพล ผิวเหมาะ โฆษกคณะ กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับยื่นหนังสือจาก นายจวน สุจา ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบชาวบ้านอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และคณะ เรื่อง ร้องเรียนการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ (อำเภอแม่ลาน้อย)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายนิติพล ผิวเหมาะ โฆษกคณะ กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับยื่นหนังสือจาก นายจวน สุจา ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบชาวบ้านอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และคณะ เรื่อง  ร้องเรียนการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ (อำเภอแม่ลาน้อย) ตามที่ บริษัท ยูนิเวอร์เซลมายนิ่ง จำกัด ได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ฟลูออไรด์ บริเวณพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านห้วยมะกอก ตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามคำขอที่ 3/2538 ต่อมาได้ทำการรังวัดและแก้ไขเปลี่ยนแนวเขต ปรากฏว่ามีพื้นที่ขอประทานบัตร 114 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนี้อยู่เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเป็นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 บี ซึ่งเหมืองดังกล่าวนี้ อยู่ติดกับชุมชน หมู่ 4 (บ้านห้วยตะพาบ) ตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีประชากรประมาณ 50 ครัวเรือน นอกจากนี้ ยังอยู่ใกล้กับอีก 3 ชุมชน ชุมชนในตำบลแม่โถและตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย ที่สำคัญคือเหมืองอยู่ติดกับลำน้ำลา ซึ่งเป็นลำน้ำที่ไหลผ่านชุมชนจำนวนมากกว่า10 ชุมชน โดยชุมชนเหล่านั้นใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค  นอกจากนี้ ต้นปี พ.ศ. 2565 ชาวบ้านทราบว่าบริษัทผู้ขอสัมปทาน ได้ว่าจ้างให้บริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริง คอนซัลแตนท์ จำกัดจัดทำการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment (EIA) แต่ชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วม และปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล เนื่องจากชาวบ้านไม่เห็นด้วยและต้องการคัดค้านให้ถึงที่สุด

ดังนั้น จึงขอให้กรรมาธิการการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ ในประเด็นดังต่อไปนี้คือ
1. ความชอบด้วยกฎหมายในการขอประทานบัตรสัมปทานเหมืองแร่ ตามคำขอประทานบัตรที่ 3/2538 ของบริษัท ยูนิเวอร์แซลมายนิ่ง จำกัด
2. ผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง และชุมชนที่ใช้น้ำจากลำน้ำ รวมทั้งผลกระทบต่อทรัพยากรป่าไม้
3. พื้นที่ขอสัมปทาน เคยเป็นพื้นที่เหมืองฟลูออไรด์เก่า ซึ่งเคยมีบริษัทมาชุดเจาะทำเป็นเหมืองอุโมงค์ แต่หมดสัมปทานไปแล้วประมาณ 30 ปี แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้นของชาวบ้าน พบว่าภูเขาที่เคยถูกขุดเจาะทำเหมืองนั้นมี 2 ลูก แต่เมื่อตรวจสอบจากพิกัดในประทานบัตรเดิม ครอบคลุมภูเขาเพียง 1ลูกเท่านั้น ในขณะที่ภูเขาตามคำขอสัมปทานครั้งนี้ไม่ได้อยู่ในเขตสัมปทานเก่า แต่ถูกขุดเจาะมีปากอุโมงค์รอบภูเขาไปหมดแล้ว 
4. การขอสัมปทานทำเหมืองครั้งนี้ จะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง แต่จนถึงขณะนี้ประชาชนในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ยังไม่ได้รับข้อมูลรายละเอียดจากบริษัทเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด 

นายนิติพล   ผิวเหมาะ  กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการเพื่อดำเนินการสืบหาข้อเท็จจริง  ซึ่งปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข และจะเชิญตัวแทนชาวบ้านมาให้ข้อมูลต่อไป

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562