ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
โครงการพัฒนาศักยภาพในการยกร่างข้อมติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 17 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

โครงการพัฒนาศักยภาพในการยกร่างข้อมติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

เมื่อวันอังคารที่ 14 มิ.ย. 65 วันที่สองของการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพในการยกร่างข้อมติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในช่วงเช้า น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติบรรยายถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในหัวข้อ “การส่งเสริมศักยภาพและการมีส่วนร่วมของสตรี ในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดกับสตรีในช่วงการระบาดของโรค เช่น อัตราความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น เกิดการทำร้ายร่างกาย เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ของหญิงและชายมากขึ้น เกิดการหย่าร้างมากขึ้น แม่เลี้ยงเดี่ยวอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก การเข้าถึงบริการสาธารณสุขน้อยลงเพราะต้องเว้นระยะเวลาไปพบแพทย์ยาวนานขึ้นในช่วงระบาดของโรค การดำเนินการในด้านสาธารณสุขยากขึ้น สตรีมีภาระในการทำงานดูแลสมาชิกในบ้านมากขึ้น การถูกเลิกจ้างงาน ปัญหาด้านสุขภาพเนื่องจากผู้ทำงานด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงจึงขาดเวลาในการดูแลตนเองและครอบครัว สำหรับการรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดในช่วงแรกในจังหวัดชายแดนใต้ได้มีการทำงานร่วมกับสาธารณสุขจังหวัด การสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจถึงแนวทางทางด้านสาธารณสุขอย่างถูกต้องเนื่องจากประชาชนมีความเชื่อสื่อต่าง ๆ มากกว่าแนวทางขององค์การอนามัยโลก และหน่วยงานสาธารณสุข นอกจากนี้ ผู้บรรยายได้กล่าวถึงแนวทางในการรับมือกับปัญหาในด้านสตรี อาทิ การมีส่วนร่วมของสตรีในทุกระดับและสร้างแรงจูงใจให้สตรีมีบทบาทมากขึ้น การยกระดับการศึกษาของสตรีเพื่อให้ทำงานที่มีรายได้สูง การส่งเสริมและแนะนำอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นและพัฒนาทักษะให้รองรับกับอาชีพเหล่านั้น การเตรียมความพร้อมรับมือกับสถาการณ์ฉุกเฉินในทุกด้าน การมีข้อมูลทางด้านเพศ การชี้นำจากภาครัฐและสนับสนุนอาชีพยุคใหม่ การมีบทบาทของภาคประชาสังคมที่มีความยืดหยุ่นในการเน้นศักยภาพของผู้หญิงในสถาการณ์ภัยพิบัติ

  สำหรับในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) โดย นายวีระศักดิ์  โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา ได้อธิบายถึงแนวทางของ BCG ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
1) เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เช่น การนำมันสำปะหลังมาผลิตเอทานอล (ethanol) การผลิตพลาสติกชีวภาพจากอ้อย เป็นต้น และเมื่อผลิตได้ปริมาณมากพอก็สามารถส่งออกและก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้น แนวทางของ bioeconomy ในภาคการผลิตจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายซึ่งจะต้องไม่ติดขัดมากนัก ภาคการตลาดต้องมีการกระตุ้นตลาดให้ใช้สินค้าทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคการสร้างความั่นคง ควรมีการรวมตัวของผู้ประกอบการหรือเกษตรกร เช่น สหกรณ์ที่เป็นแนวทางชีวภาพ การเป็นฐานการวิจัย เป็นการกลั่นวัตถุดิบที่มีชีวิต เช่น อ้อย มันสำปะหลังให้มีมูลค่าเพิ่ม และควรมีนิคมอุตสาหกรรมที่เกาะกลุ่มกัน
2)  เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ลดการทิ้งโดยการนำกลับมาใช้ใหม่ เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่าง ๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม
3) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ BCG มีความเกี่ยวข้องกับแนวคิด ESG ( Environment, Social, Governance) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่ผู้ประกอบการทั่วโลกนำมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เครดิตภาพและข่าว : โดยกลุ่มงานกิจการพิเศษ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562