ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
น.ส.ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... แถลงข่าวเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ....
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 15 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565 เวลา 14.10 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา น.ส.ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... แถลงข่าวเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้ว 2 วัน ดังนี้
1. คณะ กมธ. ได้ใช้ระยะเวลาในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... เป็นเวลากว่า 1 ปี โดยได้นำร่างฉบับของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ และ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ มาพิจารณา
ประกอบกับร่างของคณะรัฐมนตรี รวมทั้งได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. คณะ กมธ. ได้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 258 ง. การปฏิรูปด้านกระบวนการยุติธรรม (4) ที่มีการบัญญัติถึงการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจเป็นตัวตั้ง โดยมีเป้าหมาย 2 ประการ ได้แก่ 1. ให้ข้าราชการตำรวจได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย และการพิจารณาบำเหน็จความชอบตามระบบคุณธรรมที่ชัดเจน และ 2. ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
3. ผลการพิจารณา ในจำนวน 172 มาตรา ตามร่างของคณะรัฐมนตรีนั้น กมธ. แก้ไข 69 มาตรา เพิ่มเติม 10 มาตรา คงตามร่างเดิม 103 มาตรา มีผู้แปรญัตติสงวนคำแปรญัตติ 21 ท่าน รวม 83 มาตรา ซึ่งมากกว่ามาตราที่ กมธ.แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของ กมธ. สงวนความเห็นมี 12 ท่าน รวม 132 มาตรา ซึ่งมากกว่ามาตราที่ กมธ. แก้ไขเพิ่มเติมและมากกว่าผู้สงวนคำแปรญัตติ
4. ในชั้นรับหลักการนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ว่า การปฏิรูปตำรวจตามร่าง พ.ร.บ. ฉบับคณะรัฐมนตรี มีสิ่งใหม่ ๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ได้แก่
4.1 การแบ่งตำรวจออกเป็น 5 กลุ่มสายงาน เพื่อให้ข้าราชการตำรวจเติบโตตามกลุ่มสายงานด้วยความรู้ความชำนาญของตน (อยู่ในร่างมาตรา 53 มีการแก้ไขปรับปรุงให้ตรงกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ แต่ยังคงหลักการเดิม
4.2 การแบ่งตำรวจเป็น 2 ประเภท คือ ตำรวจมียศและตำรวจไม่มียศ (อยู่ในร่างมาตรา 8 ซึ่งยังคงหลักการตามร่างของคณะรัฐมนตรี
4.3 การแบ่งโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กองบัญชาการ กองบังคับการ
และสถานีตำรวจ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนด "สถานีตำรวจ" ไว้ในกฎหมาย โดยอยู่ในร่างมาตรา 12 ซึ่งยังคงหลักการตามร่างของคณะรัฐมนตรี
4.4 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในกิจการตำรวจ ซึ่งอยู่ในร่างมาตรา 7
4.5 การโอนภารกิจตำรวจให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง อาทิ ภายใน 1 ปี ให้ยุบกองบังคับการตำรวจรถไฟ ภายใน 2 ปี ให้โอนภารกิจของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่ละฉบับโดยตรง ภายใน 5 ปี ให้โอนงานจราจรเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการจราจร การกวดขันวินัยจราจร การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกในความผิดฐานจอดรถโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา และเทศบาลนคร ซึ่งอยู่ในร่างมาตรา 155 - ร่างมาตรา 158 โดยยังคงหลักการตามร่างของคณะรัฐมนตรี
4.6 การกำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง โยกย้ายตำรวจที่ชัดเจน โดยให้คำนึงถึงความอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกัน ส่วนการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ให้คำนึงถึงความอาวุโส ความรู้ ความสามารถ และความพึงพอใจในบริการที่ประชาชนได้รับ โดยกำหนดไว้ในกฎหมาย ในส่วนของการแต่งตั้ง โยกย้าย อยู่ในร่างมาตรา 69 - ร่างมาตรา 73 และในส่วนของการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น อยู่ในร่างมาตรา 74 - ร่างมาตรา 80
4.7 ให้มี ก.พ.ค.ตร. หรือคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตำรวจเป็นครั้งแรก ซึ่งกรรมการไม่ใช่ตำรวจ เพื่อให้ตำรวจร้องเรียนผู้บังคับบัญชาได้ โดยอยู่ในร่างมาตรา 25 - ร่างมาตรา 34 ซึ่งยังคงหลักการตามร่างของคณะรัฐมนตรี
4.8 ให้มี ก.ร.ตร. หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นครั้งแรก ซึ่งกรรมการก็ไม่ใช่ตำรวจเช่นกัน เพื่อให้ประชาชนร้องเรียนตำราจได้ โดยอยู่ในร่างมาตรา 35 - ร่างมาตรา 45 ซึ่งยังคงหลักการตามร่างของคณะรัฐมนตรี
4.9 เป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคลของตำรวจได้โดยตรง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินความพึงพอใจในบริการที่ประชาชนได้รับ ซึ่งผลการประเมินนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปประกอบการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตำรวจ โดยอยู่ในร่างมาตรา 74 วรรคสอง
5. การปฏิรูปไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน แต่หมายถึงการปรับปรุง แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะต้องมีจุดเริ่มต้น ซึ่งบทบัญญัติต่าง ๆ ตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปตำรวจที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การพัฒนาหรือการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่ง ๆ ขึ้นไปตามกลไกและกระบวนการของการปฏิรูปต่อไป
Download all images
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา