FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประธานรัฐสภา รับยื่นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... จำนวน 3 ฉบับ จากนายชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ จุดให้สัมภาษณ์ ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา รับยื่นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... จำนวน 3 ฉบับ จากนายชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยบันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... เพื่อโปรดนำเสนอที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาตามรัฐธรรมนูญต่อไป
สำหรับหลักการและเหตุผลการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1) แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยเพิ่มความเป็นวรรคห้า ของมาตรา 25 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 เพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเป็นมาตรา 29/1 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 47 และมาตรา 48 เหตุผล โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ใช้บังคับมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่บทบัญญัติหลายมาตราที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หลายเรื่องยังขาดความชัดเจน และไม่ครอบคลุมถึงสิทธิบางประการของบุคคล ได้แก่ สิทธิในกระบวนการยุติธรรมหลายประการไม่ได้บัญญัติไว้ ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ทั้งสิทธิในการขอปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกรณีอื่น ๆ เสรีภาพในการชุมนุมที่มักอ้างความมั่นคงเป็นข้อจำกัดเสรีภาพของบุคคล เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองยังขาดสาระสำคัญ ทำให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นใช้บังคับ มีบทบัญญัติที่จำกัดการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองและเป็นอุปสรรคและภาระของพรรคการเมืองเกินความจำเป็น สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐควรมีความชัดเจนและครอบคลุมถึงการได้รับหลักประกันสุขภาพโดยถ้วนหน้าด้วยสิทธิของบุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และผู้ยากไร้ ควรบัญญัติให้ชัดเจนและมีสภาพบังคับรวมถึงสิทธิของผู้พิการและทุพพลภาพ สิทธิของบุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและผู้วิกลจริตควรจะได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ดังนั้น เพื่อให้บทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มีความชัดเจนและเกิดผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ประชาชนผู้ที่ด้อยโอกาสทางสังคมได้รับสิทธิและความช่วยเหลือจากรัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้
2) แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 วรรคสอง เกี่ยวกับคุณสมบัติและที่มาของนายกรัฐมนตรีและความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเหตุผล โดยที่มาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 แต่มาตรา 160 ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งว่าต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช. ....
3) แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 43 เกี่ยวกับสิทธิของบุคคลและชุมชน เหตุผล โดยที่มาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดให้บุคคลและชุมชน ย่อมมีสิทธิในการอนุรักษ์ พื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีต ประเพณีอันดีงาม ทั้งของท้องถิ่นและของชาติ และมีสิทธิในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล และยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ รวมถึงมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการหรืองดเว้นการดำเนินการ อันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน และจากสาระของบทบัญญัติมาตรานี้ โดยเฉพาะใน (3) ให้สิทธิบุคคลและชุมชนเพียงการเข้าชื่อและเสนอแนะหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการหรืองดเว้นดำเนินการอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของบุคคล ชุมชน ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองหรือปกป้องสิทธิของบุคคลหรือชุมชนในกรณีที่อาจมีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ และมีความแตกต่างกับหลักการที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ที่บัญญัติให้การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... โดย ประธานรัฐสภา กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร จากนั้นจะนำบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระต่อไป ซึ่งจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน ทั้งนี้หากมีความคืบหน้าอย่างไรจะแจ้งให้ทราบต่อไป
Download all images
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา