FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประธานคณะอนุ กมธ.ศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในคณะ กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แถลงข่าว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 17 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 15.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ประธานคณะอนุ กมธ.ศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในคณะ กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แถลงข่าว กรณีการตรวจสอบปัญหาการละเลยหรือล่าช้าในการดำเนินคดีกับผู้ถูกคุมขังว่า เนื่องจากประชาชน จ.ยะลา ถูกจับกุมคุมขังและดำเนินคดีเป็นเวลา 12 ปี แต่เมื่อครบกำหนดการปล่อยตัวปรากฏว่ามีหมายจับคดีอาญาของสถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา โดยมาขออายัดตัวเพื่อนำตัวไปดำเนินคดีใหม่โดยที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็น การแจ้งข้อกล่าวหาหรือสอบปากคำ และปัจจุบันยังมีการถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำ จ.ยะลา โดยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยจากข้อเท็จจริงคณะอนุ กมธ. พบว่า แม้จะมีการตรวจสอบจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรอิสระ และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งได้มีการกำชับการปฏิบัติงาน และมีข้อเสนอแนะต่อพนักงานสอบสวนมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่เกิดประสิทธิผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร เนื่องจากยังพบว่ามีการร้องเรียนจากผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และผู้ต้องขังอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังขาดระบบการควบคุมติดตามที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมยังไม่ได้บูรณาการการแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกันอย่างจริงจัง ดังนั้น เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ และเพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกติกาสากลด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะอนุ กมธ. จึงมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรกำชับและตรวจสอบให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งที่ 419/ 2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา อย่างเคร่งครัด และลงโทษพนักงานสอบสวนซึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอย่างจริงจัง
2. กรมราชทัณฑ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรร่วมกันแก้ปัญหาความล่าช้าในการสอบสวนคดีของผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังและอายัดตัวในคดีอื่น
3. ให้กรมราชทัณฑ์กำชับและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเรือนจำและทัณฑสถานต่าง ๆ ให้ดำเนินการอายัดตัวผู้ต้องหาหรือผู้ต้องขังในกรณีที่มีหลักฐานสำเนาหมายจับจากศาลเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมิให้กระทบต่อการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามหลักทัณฑวิทยาและการพัฒนาพฤตินิสัยผู้กระทำผิดที่จำเป็นต้องมีการให้ประโยชน์ทางการราชทัณฑ์บางประการกับผู้ต้องขัง เช่น การย้ายกลับภูมิลำเนา การลดวันต้องโทษ และการพักการลงโทษ เป็นต้น
4. กระทรวงยุติธรรมควรเร่งรัดในการพัฒนาระบบและกำหนดตัวชี้วัดในการนำข้อมูลทางคดีของผู้กระทำความผิดแต่ละรายในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอายัดตัว (ตำรวจ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์) เข้าสู่ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม ( Data Exchange Center : DXC ) แบบออนไลน์ และกำหนดข้อมูลและชั้นข้อมูลของฐานข้อมูลในระบบ DXC ให้มีระบบชั้นความลับและกำหนดสิทธิการเข้าถึง เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้หรือช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกระบวนการยุติธรรมในการอำนวยความยุติธรรม
5. แต่ละหน่วยงานควรจัดอบรมบุคลากรของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนดำเนินการของสำนวนคดีอาญาและอายัดตัวผู้ต้องหา ให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและระเบียบที่ถูกต้องตรงกันเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือเกิดปัญหาในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ทุกหน่วยงานควรปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาที่ถูกอายัดในคดีอื่น
7. เห็นควรให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องหมายจับ โดยให้พนักงานอัยการกลั่นกรองและตรวจสอบการขอออกหมายจับก่อนให้ศาลพิจารณาออกหมายจับ
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562