FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก นายนิกร วีสเพ็ญ ประธานกรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และคณะ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก นายนิกร วีสเพ็ญ ประธานกรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และคณะ เพื่อยื่นข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างตำรวจเพื่อรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประชาชนไทยส่วนใหญ่และสื่อมวลชนทุกแขนงต่างเรียกร้องให้รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาดำเนินการการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงองค์กรผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ครั้งใหญ่ให้เสร็จสิ้นในรัฐบาลชุดนี้ โดยการตรา พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่จะเป็นการจุดประกายความหวังที่จะได้เห็นการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างมืออาชีพ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับประชาชนและเกิดความเป็นธรรมภายในวงการตำรวจกันเอง ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาตินั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหยิบยกข้อเสนอของประชาชนที่ผ่านการศึกษากลั่นกรองจากการหารือถกเถียงกันมาหลายสิบเวที ให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เปลี่ยนระเบียบวิธีการปฏิบัติของตำรวจแบบเดิม เพื่อนำมาบังคับใช้ในการดูแลทุกข์สุขของประซาชนไทยและซาวต่างชาติที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยอย่างเสมอภาคเท่าเทียม โดยในรอบระยะเวลาตั้งแต่มีกฎหมายตำรวจปี 2547 จนถึงปัจจุบัน องค์กรตำรวจยังไม่สามารถ ตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาของสังคมได้
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตำรวจกับประซาซนใหม่ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่รวมศูนย์อำนาจมากเกินไป จัดระบบให้ดีขึ้น ใช้ดุลพินิจให้น้อยลง ให้มีการตรวจสอบ ถ่วงดุล และให้ประชาชนในทุกระดับมีส่วนร่วม เพื่อให้กฎหมายฉบับใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปตำรวจ เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน
ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ได้จัดให้มีการศึกษา และประชุมสัมมนาทางวิชาการเมื่อวัน ที่ 24 มี.ค. 64 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา
หลายภาคส่วน ซึ่งมีข้อสรุปและข้อเสนอ อาทิ
    1. กระจายอำนาจความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแห่งชาติ (สตช.)ไปสู่ระดับจังหวัด เพื่อลดภาระงานความรับผิดชอบในส่วนกลางของ สตช. ให้การปฏิบัติหน้าที่ การโยกย้าย หรือแต่งตั้งตำรวจโดยคำนึงถึงภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่เดิมของตำรวจเป็นสำคัญ รวมทั้งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้โรงพักเป็นจุดบริการที่จบได้ที่จุดเดียว (One Stop Service)
    2. ลดชั้นบังคับบัญชาในโรงพักให้น้อยลง เพื่อให้ตำรวจหันมาให้ความสำคัญกับประชาชน และเกิดความคล่องตัวในการทำงาน
    3.ยกเลิกตำรวจติดตามที่รับใช้นายตำรวจบางประเภทโดยไม่จำเป็น โดย
ให้ระบุความจำเป็นของนายตำรวจที่ติดตามอารักขาบุคคลต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียกำลังพลในการให้บริการช่วยเหลือประชาชน
    4. ตรวจสอบประเมินผลการทำงานในการให้บริการของตำรวจโดยคณะกรรมการจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ
    5.ให้งานสอบสวนเป็นหน่วยงานอิสระจาก สตช. มีความเป็นวิชาชีพ และพนักงานสอบสวนต้องมีความรู้ ได้รับการพัฒนาความเชี่ยวชาญ
    6.ประสานองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บพยานหลักฐานทางอาญา เพื่อให้ทุกองค์กรมีการถ่วงดุลและร่วมกันรับผิดชอบ
    7.กำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีเพื่อร่วมกันทำให้เกิดความยุติธรรม
    8.กำหนดบทลงโทษทั้งทางวินัยและอาญาที่ชัดเจนต่อการกระทำของตำรวจระหว่างการสืบสวน สอบสวนหาข้อเท็จจริงด้วยวิธีการซ้อมทรมานผู้ต้องหา การข่มขู่ คุกคาม ผู้ต้องหาและญาติ
    9.โอนตำรวจ 11 หน่วย ไปให้กระทรวง ทบวง กรม ที่รับผิดชอบ
    10.ตำรวจบางประเภทในสายงานแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ ไม่มีความจำเป็นต้องมียศและวินัยแบบทหาร เพราะอาจนำไปสู่การใช้สายบังคับบัญชาหรือยศชั้นที่เหนือกว่าเข้าไปแทรกแซงสำนวนหรือเปลี่ยนแปลงรูปคดีได้
    11.ยุบกองบัญชาการทั้ง 9 ภาค เพื่อลดความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็นในระบบการบังคับบัญชาของตำรวจและประหยัดงบประมาณ
    12.แบ่งสถานีตำรวจออกเป็น 3 ระดับได้แก่ระดับเล็ก กลาง ใหญ่ และนายตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้กำกับหรือผู้กำกับเป็นครั้งแรกให้เริ่มจากสถานีระดับเล็กหรือกลางเป็นเวลา 2 ปี จึงจะสามารถดำรงตำแหน่งในสถานีระดับใหญ่ได้
    13.กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่ง และโยกย้ายตำรวจทุกระดับ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมต่อการครองตำแหน่งเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ สร้างความเป็นธรรม รวมทั้งเป็นการฟื้นฟูขวัญและกำลังใจให้กับตำรวจส่วนใหญ่
ด้าน นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ กล่าวว่า จะนำข้อเสนอดังกล่าวกราบเรียนประธานรัฐสภาเพื่อพิจารณาต่อไป
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562