FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก นายสุรสีห์ ลานนท์ ตัวผู้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ. ....

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 20 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก นายสุรสีห์ ลานนท์ ตัวผู้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ. .... สืบเนื่องจากการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนโบราณ การแพทย์พื้นบ้าน เป็นการแพทย์แผนดั้งเดิมของประเทศไทย ซึ่งของเราได้สืบทอดองค์ความในการดูแลรักษาสุขภาพจากรุ่นสู่รุ่น มีบันทึกเป็นพระคัมภีร์หรือตำรา ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ ตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์มารดาจนสิ้นอายุขัยอย่างไรก็ดี ได้มีการตรากฎหมายบังคับไม่ให้มีใช้ยาสมุนไพรในการรักษา ตั้งแต่ พ.ศ.2456 ทำให้แพทย์แผนไทย บางส่วนถูกเผาทำลายเพราะกลัวอาญาแผ่นดิน บางส่วนถูกขโมย หรือขายให้กับต่างชาติ ถูกละเลย ขาดการอนุรักษ์ สืบทอด พัฒนา และสูญหายไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่ง พ.ศ.2520 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมให้ทุกประเทศทั่วโลก นำยาสมุนไพรและการแพทย์แผนดั้งเดิมกลับมาใช้ ส่วนคนไทยก็ยังมีการใช้ยาสมุนไพรในการดูแสรักษาสุขภาพมาโตยตลอด เนื่องจากภูมิปัญญาเหล่านี้อยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ระบบความคิด และความเชื่อมาอย่างยาวนานในระดับสากลมีการพัฒนาการแพทย์แผนดั้งเดิม ได้มีปฏิญญาปักกิ่ง (Beijing Declaration) ในการประชุม International Forum on Integration of TW/CAM into Health System ในปี พ.ศ 2551 ส่วนในระดับอาเซียนก็มีปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้จากการประชุม Conference on Traditional Medicine in Asian Countries ณ ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2552 โดยการประชุมทั้ง 2 ระดับ ได้กล่าวถึงการพัฒนาและส่งเสริมการนำองค์ความรู้การแพทย์แผนดั้งเดิมกลับเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข หลายสิบปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานที่ดูแล รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทย แต่การแพทย์แผนไทยยังมีการพัฒนาค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากไม่มีหน่วยงานระดับกระทรวงเป็นตัวขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่..)  พ.ศ. .... และร่างพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เพื่อเป็นการอนุรักษ์ พื้นฟู พัฒนา สืบทอด และส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของไทย ช่วยให้ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น ตลอดจนทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในการดูแสรักษาสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศในการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ จึงขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย สื่อมวลชน และประชาชนทุกภาคส่วน โปรดช่วยกันขับเคลื่อนผลักดันร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

ด้าน นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ กล่าวว่า จะนำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ กราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร และจะมีการตรวจสอบความถูกต้องตามขั้นตอนกระบวนการเสนอร่างกฎหมายต่อไป สภาฯ  มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนร่วมกันเสนอกฎหมายเพื่อดูแลประเทศชาติ เพราะนี้คือหัวใจของประชาธิปไตย คือการที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายในยุคของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีความยินดีที่จะรับร่างกฎหมายที่เสนอจากประชาชนทุกภาคส่วน
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562