FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ โฆษกคณะ กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ ประธานคณะอนุ กมธ.เพื่อพิจารณาศึกษาด้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ (ชุดที่ 2) ในคณะ กมธ. และคณะ แถลงข่าวเกี่ยวกับรายงานการพิจารณาศึกษาของคณะ กมธ.

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ โฆษกคณะ กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ ประธานคณะอนุ กมธ.เพื่อพิจารณาศึกษาด้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ (ชุดที่ 2) ในคณะ กมธ. และคณะ แถลงข่าวเกี่ยวกับรายงานการพิจารณาศึกษาของคณะ กมธ. เรื่อง ผลกระทบของประชาชนจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 รวมทั้งมาตรการทวงคืนผืนป่าของภาครัฐ โดยคณะ กมธ. ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ จึงได้มีการพิจารณาศึกษาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรายงานฉบับนี้เป็นการพิจารณาศึกษาต่อเนื่องจากการพิจารณาศึกษาฉบับแรก เรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยผลจากรายงานฉบับดังกล่าว พบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ยังถือเป็นกลุ่มคนด้อยโอกาสที่สมควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคทางสังคมเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกับกลุ่มคนอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายขึ้นมาให้การดูแลคุ้มครองโดยเฉพาะ จึงได้มีการจัดทำรายงานผลการศึกษา ฉบับที่ 2 คือ การพิจารณายกร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย และนำเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว สำหรับรายงานฉบับนี้เป็น ฉบับที่ 3 ซึ่งพบว่ายังมีกฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์โดยตรงแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์โดยตรง ดังนั้น คณะ กมธ.จึงได้พิจารณาศึกษาและจัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ จากการพิจารณาศึกษาดังกล่าว คณะ กมธ. มีข้อสังเกตเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือผลกระทบต่อประชาชนและกลุ่มชาติพันธุ์จากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 262 และ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ดังนี้
1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องสำรวจการถือครองที่ดินของประชาชนที่อยู่อาศัย หรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งไร่หมุนเวียน ตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ให้ครบถ้วนถูกต้อง แม้จะล่วงเลยระยะเวลา 240 วัน ซึ่งเป็นมาตรการเร่งรัดมิใช่มาตรการบังคับ เนื่องจากพบการตกหล่น ผิดพลาด โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมและไม่คำนึงถึงวัฒนธรรมและวิถีชุมชนดั้งเดิม เช่น ชุมชนบางกลอยบนและใจแผ่นดิน จ.เพชรบุรี และชุมชนหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา เป็นต้น
2) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประเภทและชนิดของทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ ตามมาตรา 65 แห่งพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 รวมถึงป่าชุมชน ป่าใช้สอย ป่าทางวัฒนธรรม ให้ครบถ้วนถูกต้อง แม้จะล่วงเลยระยะเวลา 240 วัน ซึ่งเป็นมาตรการเร่งรัดมิใช่มาตรการบังคับ
3) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชะลอการออกกฎหมายลำดับรอง ตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 แต่หากต้องออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวก็จะต้องมีสาระสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิต วิถีชีวิต และวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย ได้เข้าถึงข้อมูล มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึงโดยคำนึงถึงสัดส่วนของผู้มีส่วนได้เสียทั่วประเทศ รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
4) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องเอื้ออำนวยให้ชุมชนและประชาชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้รับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค เป็นต้น
5) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรศึกษาวัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนเอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิต วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์
6) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รวมทั้งอนุสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศ หรืออื่นใดที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันหรือผูกพันไว้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเมื่อได้ตราออกมาบังคับใช้แล้ว ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบ ประโยชน์ได้เสีย ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนโดยรวม
7) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องยุติการจับกุมหรือหามาตรการอื่นใดบรรเทาต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมในชุมชน พร้อมทั้งเร่งสำรวจตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 
8) สำนักนายกรัฐมนตรีควรพิจารณาพัฒนาระเบียบว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 ให้เป็น พ.ร.บ.โฉนดชุมชน พ.ศ. .... ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน
9) คณะรัฐมนตรีต้องเร่งรัดให้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ขึ้นโดยเร็วตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 62 

ทั้งนี้ คณะ กมธ. เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อยู่ระหว่างการนำเสนอกฎหมายลำดับรองเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ทั้ง 3 ฉบับข้างต้น ควรชะลอการดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองออกไปก่อน เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรอบคอบและมีข้อมูลรอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะการรับฟังข้อสังเกตดังกล่าวของคณะ กมธ. ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทั้งหน่วยงานผู้ปฏิบัติและประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562