FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายธีรัจชัย พันธุมาศ รองประธานคณะ กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91) คนที่หก และนายรังสิมันต์ โรม กมธ.และที่ปรึกษาคณะ กมธ. แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมคณะ กมธ.

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 13.15 นาฬิกา ณ จุดให้สัมภาษณ์ ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายธีรัจชัย พันธุมาศ รองประธานคณะ กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91) คนที่หก และนายรังสิมันต์ โรม กมธ.และที่ปรึกษาคณะ กมธ. แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมคณะ กมธ. เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ ในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเป็นรายมาตรา โดยร่างแก้ไขเพิ่มเติมร่างที่ 13 ของพรรคประชาธิปัตย์ที่รับหลักการในวาระแรกนั้น มี 2 มาตรา ได้แก่ มาตรา 83 ซึ่งเป็นเรื่องของจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ และมาตรา 51 ซึ่งเป็นเรื่องของการคำนวณสัดส่วน ส.ส. โดยในมาตรา 83 นั้น พรรคก้าวไกลได้เสนอหลักการคือ ให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขต 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มีความเหมาะสม โดยให้เหตุผลว่า ส.ส.เขตที่เล็กอาจถูกซื้อเสียงได้ง่าย และ หากมีจำนวน ส.ส.เขต มากเกินไปจะสะท้อนถึงเรื่องในพื้นที่มากกว่าในระดับประเทศ ดังนั้น ส.ส. ทั้งสองประเภทควรมีจำนวนที่ไม่ห่างกันมากนัก ทั้งนี้ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา โฆษกคณะ กมธ. ได้อธิบายถึงระบบเลือกตั้งอย่างละเอียด รวมถึงระบบการเลือกตั้งแบบ MMP (Mixed-Member Proportional Representation) ซึ่งเป็นระบบที่แยกบัตร 2 ใบ คือแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ โดยระบบนี้เป็นการเลือกคนที่ชอบ เลือกพรรคที่ใช่ ในสัดส่วนที่ถูกต้องตามความต้องการของประชาชน ไม่มี ส.ส. ปัดเศษ และสร้างความเป็นธรรมให้ทุกพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ที่สามารถมีพื้นที่ในสภาเป็นตัวแทนประชาชนได้ดีกว่า ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน เหมือนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณามาตรา 85 โดยมี กมธ. เสนอให้ลดการพิจารณาของ กกต. ในการประกาศผลการเลือกตั้งจาก 60 วัน เป็น 30 วัน โดย กมธ. ที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่ากรณีนี้ไม่ใช่เป็นการแปรญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 124 แต่เป็นข้อเสนอที่ กมธ. เสนอขึ้นมาเอง ซึ่งตนได้คัดค้านว่า เรื่องนี้เป็นการแปรญัตติเพิ่มมาตราที่ไม่ได้อยู่ในหลักการและเป็นการพิจารณาเกินหลักการ แต่ในที่สุด ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามที่ กมธ. เสนอ นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะ กมธ. ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการแปรญัตติของ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีข้อความแปรญัตติที่ขยายไปถึงการมีบทเฉพาะกาล คือ ให้มีการร่างกฎหมายลูกให้เสร็จภายใน 90 วัน หลังจากแก้รัฐธรรมนูญแล้ว แต่หากไม่แล้วเสร็จและมีการเลือกตั้งทั่วไป ให้อำนาจ กกต. ในการพิจารณาข้อกำหนดการเลือกตั้งได้ ซึ่งตนเห็นว่า กกต. เป็นผู้ใช้กฎหมาย ไม่ใช่ผู้ตรากฎหมาย เหตุใดจึงต้องให้ กกต. เป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ เห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีความเร่งรีบ และกมธ.ไม่สามารถอภิปรายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นกับการพิจารณากฎหมายสำคัญของประเทศ อย่างไรก็ตาม กมธ. ในส่วนของพรรคก้าวไกล มีจุดยืนที่ชัดเจน มั่นคง และยืนยันคัดค้านเพื่อให้มีการบันทึกไว้ในรายงานการประชุมเพื่อใช้สิทธิในทางอื่นต่อไป


download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562