FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ และนายวสันต์นุ้ยภิรมย์ คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 16 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 15.40 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ และนายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 พร้อมทั้งร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ฉบับประชาชน และรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย จำนวน 30,000 รายชื่อ จากนายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) นายวีรบูล เสมาทอง ประธานสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) และนายธนชน มุทาพร ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย (ค.อ.ท.) สืบเนื่องจากร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. นั้นเป็นร่างกฎหมายที่ไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติไว้ ดังนี้
1. มาตรา 258 อนุ 4 บัญญัติว่าปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ แต่ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีได้มีมาตราใดที่กำหนดในเรื่องโครงสร้างตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ให้ทำแต่อย่างใด
2. มาตรา 77 วรรคสอง บัญญัติว่า ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบรวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชนและนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน โดยในทางปฏิบัติ รัฐมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เปิดรับฟังความคิดเห็นทางออนไลน์ และมีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 2 คน เท่านั้นจึงไม่ถือว่าเป็นตัวแทนตามหลักวิชาการและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

ในการนี้ เพื่อให้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติเป็นกฎหมายที่ทรงคุณค่าและสอดคล้องกับคำว่าปฏิรูป ทาง ค.อ.ท. จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ฉบับประชาชนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. มีหลักประกันให้เด็กไทยทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยกำหนดให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง คุรุสภามีสถานะเป็นสภาวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
2. ลดความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. ยึดหลักธรรมาภิบาล หลักการมีส่วนร่วม
4. มีองค์กรบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักการบริหารงานบุคคล
5. เป็นกฎหมายการศึกษาที่เน้นหลักการกระจายอำนาจ มีบทบัญญัติว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีองค์กรหลักทำหน้าที่ในการจัดการศึกษา

โดย นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล กล่าวภายหลังรับหนังสือคัดค้านและร่าง พ.ร.บ. ว่า สำหรับหนังสือขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านมติของคณะรัฐมนตรีนั้น จะนำกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ก่อนจะส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนร่าง พ.ร.บ. ฉบับประชาชน จะส่งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบความถูกต้องและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562