|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน และคณะ พร้อมด้วยนายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล รองประธานคณะ กมธ.การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา คนที่สาม รับยื่นหนังสือจากนายมงคล ยางงาม ผู้ประสานงานกลุ่มสหภาพไรเดอร์
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2564 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน และคณะ พร้อมด้วยนายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล รองประธานคณะ กมธ.การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา คนที่สาม รับยื่นหนังสือจากนายมงคล ยางงาม ผู้ประสานงานกลุ่มสหภาพไรเดอร์ เรื่อง การจำกัดและแก้ไขผลกระทบต่อไรเดอร์จากโครงการ "พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน : Lot 11 Food Delivery" สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้มีการรายงานข่าวถึงกรณีที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดโครงการ "พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน : Lot 11 Food Delivery" ซึ่งได้มีการเชิญตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจส่งอาหาร ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น บริษัทแพลตฟอร์มส่งอาหาร 5 แพลตฟอร์ม (แกร็บ, ฟู้ดแพนด้า, ไลน์แมน, โกเจ็ค , และ โรบินฮูด), ตัวแทนและสมาคมจากร้านอาหารต่าง ๆ ผู้แทนสถาบันการเงินต่าง ๆ และกลุ่มผู้บริโภค โดยที่ประชุมมีข้อสรุปให้ บริษัทแพลตฟอร์มต่างที่เก็บค่า Gross Profit (GP) ลดอัตราการเก็บค่า GP จากร้านค้าลงมาที่ร้อยละ 25 ของค่าอาหาร, ลดราคาค่าอาหารที่ขายผ่านแพลตฟอร์มลงมาไม่เกินร้อยละ 60 ของค่าอาหารเดิมและลดค่าขนส่งสำหรับระยะทาง 3-5 กิโลเมตรแรกอย่างไรก็ตาม แม้ทางสหภาพไรเดอร์ จะเห็นด้วยที่ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือร้านค้าและผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 แต่ทางสหภาพได้มีความกังวลต่อข้อตกลงในการประชุมครั้งนี้ ว่าจะมีการพูดคุยหารือและสะท้อนสภาพปัญหาของอาชีพคนขับมากน้อยเพียงใด เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้เชิญตัวแทนกลุ่มคนขับเข้าร่วมการหารือ อีกทั้งที่ผ่านมา บริษัทแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการทำงานของคนขับ โดยไม่ได้มีการหารือหรือได้รับความยินยอมจากกลุ่มคนขับก่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้และสภาพการทำงานของคนขับในหลาย ๆ กรณี ทางสหภาพ จึงมีความกังวลว่า ผลกระทบจากมาตรการที่ตกลงกัน ซึ่งจะทำให้บริษัทแพลทฟอร์มสูญเสียรายได้ประมาณ 250-300 ล้านบาท จะนำมาสู่การที่ บริษัทแพลทฟอร์มต่าง ๆ ประกาศลดค่ารอบหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กระทบต่อรายได้ของคนขับ โดยไม่ได้มีการหารือหรือได้รับการยินยอมก่อน เหมือนที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด นอกจากนี้ ทางสหภาพ ยังได้รับข้อมูลจากคนขับหลายท่าน ว่าจำนวนงานที่ลูกค้าสั่งอาหารได้ลดลงอย่างมากในช่วงการระบาดรอบที่สามของโรคโควิด-19 และหลาย ๆ บริษัทแพลทฟอร์ม กลับทำการซ้ำเติมคนขับ ด้วยการประกาศรับคนขับเพิ่มหลายครั้ง ในการนี้ สหภาพไรเดอร์ จึงขอความช่วยเหลือมายังคณะ กมธ.การแรงงาน โดยมีข้อเรียกร้องต่อ คณะกมธ. ดังนี้
1. ขอให้ คณะกมธ. เรียกหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงแรงงาน มาหารือและรับรองว่าการประกาศลดค่า GP ร้านค้า ลดค่าอาหาร และ ค่าส่งอาหาร จะไม่นำมาสู่ การประกาศลดค่ารอบและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่ส่งผลกระทบทางลบต่อรายได้ของคนขับ รวมทั้งขอให้ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้ามาดูแลรับผิดชอบไม่ให้บริษัทแพลทฟอร์มทั้ง 5 บริษัทที่เข้าโครงการ ฯ มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขกฎเกณฑ์ต่างโดยไม่มีการหารือและได้รับการยินยอมจากคนขับ เหมือนที่ผ่านมา 2. ขอให้ทั้ง 5 บริษัทแพลทฟอร์มที่เข้าร่วมโครงการชะการเปิดรับคนขับใหม่ จนกว่าจะมีการหารือและได้รับการยินยอมจากตัวแทนคนขับ หรือ มีการเปิดเผยข้อมูล ว่าอัตราส่วนคนขับต่อจำนวนออเดอร์ทั้งหมด มีการลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อยืนยันถึงความจำเป็นในการรับคนขับใหม่ และเพื่อเป็นหลักประกันว่า การรับคนขับใหม่จะไม่กระทบต่อรายได้ของคนขับเดิมโดย นายสุเทพ อู่อ้น กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่าคณะกมธ.การแรงงาน จะเชิญตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงแรงงาน มาร่วมประชุมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขให้แก่กลุ่มสหภาพไรเดอร์ผู้ได้รับความเดือดร้อนต่อไป ตลอดจนเร่งผลักดันประกันสังคมมาตรา 40 ให้เกิดความเท่าเทียมและเสมอภาคโดยเร็ว
จากนั้น นายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า จะขอรับเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะ กมธ. การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป |
|
|
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
|
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า |
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
|
|
|
|
|
|
|