FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประชุมคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นและสื่อสารสาธารณะ ครั้งที่ 5

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 5 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2564 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 416 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา ศ.วันชัย วัฒนศัพท์ ประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นและสื่อสารสาธารณะ ในคณะกรรมการสมานฉันท์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 5 เพื่อพิจารณาความคืบหน้าการพบปะหารือผู้ทรงคุณวุฒิและการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ 
ที่ประชุมได้พิจารณาเนื้อหาสาระสำคัญของการสรุปผลการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสมานฉันท์ อาทิ  อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์อาวุโส และอดีตผู้สอนรายวิชาการเมืองการปกครองสหราชอาณาจักร และจาก ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวณิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ สิ่งที่คณะอนุกรรมาธิการฯ ต้องดำเนินการต่อไปคือ สะท้อนความคิดเห็นเหล่านี้ ให้คณะกรรมการสมานฉันท์รับทราบ เพื่อจะได้เข้าใจ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยไม่มองเพื่อหาความผิดในอดีต แต่ต้องเรียนรู้กับสิ่งที่ผ่านมา ค้นหาความจริงให้ปรากฏ เพื่อสร้างความปรองดองในสังคม 

สำหรับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ที่ จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 4 เม.ย.64 ที่ผ่านมา มีข้อสรุปผลการสานเสวนาประชาธิปไตยที่เยาวชนพึงปรารถนา 3 ประเด็น คือ 
1. ต้องการให้มีการเปิดเวทีการแสดงออกทางการเมือง เพื่อเรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน
2. ต้องการประชาธิปไตยที่พัฒนาคุณภาพชีวิต ยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และมีการกระจายอำนาจอย่างเป็นธรรม
3. ต้องการประชาธิปไตยที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ปราศจากการรัฐประหาร
สำหรับวิธีการเพื่อนำไปสู่ประชาธิปไตยที่เยาวชนพึงปรารถนา คือ รัฐต้องเปิดโอกาส และเปิดพื้นที่ให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ในทุกเรื่อง โดยไม่มีการปิดกั้น และแนวทางที่จะป้องกันมิให้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกซึ่งจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ได้รับทราบต่อไป
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562