FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ฝ่ายกฎหมาย แถลงข่าว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ฝ่ายกฎหมาย แถลงข่าว พรรคพลังประชารัฐ เตรียมยื่นญัตติ
ขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยขอแก้ไข 5 ประเด็น 13 มาตรา เพื่อลดความขัดแย้ง
และแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ทั้งนี้ ได้จัดทำบันทึกหลักการ เหตุผลและบทวิเคราะห์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะยื่นต่อ
นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ในวันที่ 7 เม.ย. 64 นี้สำหรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีประเด็นที่สำคัญ คือ
มีการแก้ไขจำนวน 5 ประเด็น 13 มาตรา มีรายละเอียดดังนี้

ประเด็นที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ แก้ไขมาตรา 29, 41 และมาตรา 45  โดยมีเหตุผลเพื่อเพิ่มสิทธิใน
กระบวนการยุติธรรม 8 อนุมาตรา แก้ไขมาตรา 29 เพื่อให้ชุมชนมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสม
จากรัฐในการฟ้องหน่วยงานรัฐ แก้ไขมาตรา 41 เพื่อแก้ปัญหากระบวนการไพร์มารี่โหวตของพรรคการเมือง แก้ไขมาตรา 45 โดยได้นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 47 มาใช้แทน

ประเด็นที่ 2 แก้ไขระบบการเลือกตั้ง มาตรา 83, 85, 86, 90, 91, 92 และมาตรา 94 โดยมีเหตุผลดังนี้ 1) เพื่อให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นแบบบัตรสองใบ ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และให้ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. ภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง 2) เพื่อให้พรรคการเมือง
ต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 100 เขตเลือกตั้ง จึงจะมีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้
3) พรรคการเมืองใดที่ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละ 1 ของจำนวนคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ ให้ถือว่าไม่มี ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้ง และไม่ให้นำคะแนนเสียงดังกล่าวมารวมคำนวณ เพื่อหาสัดส่วนจำนวน ส.ส.
แบบบัญชีรายชื่อ
4) เมื่อมีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. แบบแบ่งเขต ภายใน 1 ปี ไม่มีการคำนวณคะแนน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อใหม่

ประเด็นที่ 3 แก้ไขมาตรา 144 การพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งเดิมมีปัญหากระทบต่อการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณ แก้ไขโดยให้ใช้ข้อความตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 168 วรรคห้า
วรรคหก วรรคเจ็ด วรรคแปด และวรรคเก้า มาใช้แทนประเด็นที่ 4 แก้ไขมาตรา 185 เพื่อแก้ไขอุปสรรคการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้สามารถติดต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้ โดยได้นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 111 มาใช้แทน

ประเด็นที่ 5 แก้ไขบทเฉพาะกาล มาตรา 270 เปลี่ยนแปลงอำนาจวุฒิสภา ให้เป็นอำนาจรัฐสภา โดย ส.ส. ส.ว. มีหน้าที่
และอำนาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุป้าหมาย ตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติทั้งนี้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน
ด้วยการเพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน แก้ไขระบบการเลือกตั้ง รวมทั้งช่วยแก้ไขอุปสรรคการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนช่วยลดความขัดแย้งในระบบการเมือง และหากสมาชิก
รัฐสภาทุกท่านเห็นด้วย จะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ
โดยไม่ใช้ระยะเวลานาน เพราะเมื่อเปิดสมัยประชุมสภา
ในเดือน พ.ค. จะเสนอให้นำญัตตินี้มาพิจารณาเป็นลำดับแรก คือในวันที่ 25 พ.ค. 64  เพื่อพิจารณาในวาระแรก และส่งให้คณะ กมธ. พิจารณาภายในระยะเวลา 1 เดือน และนำกลับเข้ามาพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ประมาณกลางเดือน ก.ค.
หรือปลายเดือน ก.ค. หวังว่าสมาชิกรัฐสภาทุกคนทั้งฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา จะร่วมกับสนับสนุนเพื่อให้การแก้ไข
รัฐธรรมนูญสำเร็จ

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562