FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประธานคณะ กมธ. การแรงงาน และคณะ รับยื่นหนังสือจาก น.ส.ปสุตา ชื้นขจร กองเลขาเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ยื่นข้อเสนอ 14 ข้อ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 31 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 12.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ. การแรงงาน และคณะ รับยื่นหนังสือจาก น.ส.ปสุตา ชื้นขจร กองเลขาเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ยื่นข้อเสนอ 14 ข้อ เพื่อขอให้ คณะ กมธ. ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานข้ามชาติในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะการขึ้นทะเบียนแรงงาน
ข้ามชาติ เนื่องจากสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในภาคเหนือยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน โดยไม่มีส่วนร่วมในคณะกรรมการไตรภาคีชุดต่าง ๆ แรงงานที่ทำงานบ้าน และแรงงานในภาคเกษตรกรรมไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน รวมถึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเฉก เช่นแรงงานทั่วไปตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องอาชีพ และเอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียน ประกอบกับนายจ้าง
บางรายไม่ได้นำลูกจ้างไปขึ้นทะเบียนประกันสังคม ส่วนลูกจ้างที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมก็ยังมีปัญหาการเข้าถึง
สิทธิประโยชน์

อีกทั้งในช่วงที่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แรงงานข้ามชาติยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาใด ๆ จากรัฐบาลเลย ทั้งที่ได้รับผลกระทบและมีความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก แม้แต่แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในระบบประกันสังคมก็ไม่รับสิทธิในฐานะที่เป็นผู้ประกันตนตามนโยบายช่วยเหลือผู้ประกันตนของกระทรวงแรงงาน
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมให้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของแรงงานข้ามชาติ เครือข่ายแรงงาน
ภาคเหนือจึงขอเรียกร้องให้คณะ กมธ. เร่งดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. ขอให้ดำเนินการแก้ไขนิยามของ "งาน" และ "แรงงาน" ให้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ทุกวัย โดยเร่งด่วน
2. ขอให้กระทรวงแรงงานกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบในระยาว โดยจัดทำเป็นแผน 5 ปี หรือ 10 ปี และต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ไม่มีการเลือกปฏิบัติและเน้นการมีส่วนร่วมจาก
ทุกภาคส่วน
3. ขอให้กระทรวงแรงงานจัดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานรอบใหม่ เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถขึ้นทะเบียนได้
4. ขอให้เร่งดำเนินการเพื่อให้แรงงานสามารถอยู่ต่อในประเทศและทำงานต่อไปได้ หากพาสปอร์ต หรือ CI หมดอายุ
เนื่องจากยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว และต้องไม่มีการเก็บค่าตีตราวีซ่าย้อนหลัง
5. ขอให้ออกกฎกระทรวงที่กำหนดให้แรงงานทุกคน ทุกอาชีพเข้าสู่ระบบประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
อย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ
6. ขอให้ปรับปรุงเงื่อนไขการเกิดสิทธิในกองทุนประกันสังคม โดยให้ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้ทันทีหลังจากที่มี
การเข้าสู่ระบบประกันสังคม
7. ขอให้ดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงการง่ายเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ให้แรงงานข้ามชาติในระบบประกันสังคมที่ต้องการกลับประเทศต้นทาง และไม่ประสงค์ที่จะพำนักในประเทศไทยอีกต่อไป สามารถยื่น
รับเงินจากกองทุนบำเหน็จชราภาพได้ทันที
8. ขอให้เร่งจัดทำข้อเสนอต่อรัฐบาลให้มีการแก้ไขพระราชกำหนดการทำงานของคนต่างด้าว ปี 2561 ให้แรงงานข้ามชาติทำงานได้ทุกอาชีพตามความสามารถของตนโดยด่วน และขยายอายุการทำงานของแรงงานข้ามชาติ จนถึงอายุ 60 ปี
9. ในระยะเร่งด่วนขอให้ออกประกาศกระทรวงให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับอาชีพ (2) งานช่างก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานช่างก่อสร้างอาคาร ตามบัญชีประเภทที่ 3 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำให้เก็บเพียงรายการเดียวครอบคลุมตาม (2) และในระยะยาวขอให้ดำเนินการแก้ไขนิยามของงานกรรมกรก่อสร้างให้ครอบคลุมถึงอาชีพตาม (2) โดยไม่ต้องมาขออนุญาตเป็นรายอาชีพ
10. ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้มีการอบรมอาชีพที่เหมาะสม ให้กับแรงงานทุกภาคส่วน
ทั้งแรงงานไทย แรงงานผู้สูงอายุ แรงงานผู้พิการ แรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ และแรงงานข้ามชาติ
11. ขอให้เสนอและผลักดันให้รัฐบาลเร่งดำเนินการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและ
การคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจา ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน และอนุสัญญา ILO ว่าด้วยการต่อต้านความรุนแรงและการล่วงละเมิดในโลกแห่งการทำงาน
ภายในปี 2564
12. เร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้คุ้มครองอาชีพ อาทิ พนักงานบริการ
ลูกจ้างทำงานบ้าน แรงงานนอกระบบ แรงงานในภาคเกษตร ให้มีการจ้างงานกันตลอดทั้งปี
13. ขอให้มีการขยายอาสาสมัครต่างด้าว (อสต.) โดยให้ภาคประชาสังคม และแรงงานข้ามชาติเข้ามามีส่วนร่วม
เป็นอาสาสมัครในการกำกับติดตาม แจ้งเบาะแสต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ เป็นไปได้
อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
14. ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในระดับจังหวัด โดยคณะกรรมการดังกล่าวต้องมี
ส่วนร่วมจากองค์กรภาคประชาสังคม และกลุ่มแรงงาน และต้องมีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดประชุมด้าน
นายสุเทพ อู่อ้น กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในคณะ กมธ. ต่อไป และจะเร่งผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้
อย่างเร่งด่วน โดยจะประสานไปยังกระทรวงแรงงานให้เร่งดำเนินการ เนื่องจากแรงงานข้ามชาติถือเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย จึงสมควรได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562