FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ ครั้งที่ 10

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 419 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 10 เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. การรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการฯ ได้เชิญ ดร.พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตัวแทนนิสิต มาร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่ง ดร.พัชร์ กล่าวว่า ตนเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายการชุมนุมสาธารณะ และเสรีภาพการชุมนุมกับกฎหมาย โดยสอนให้นักศึกษาทราบถึงหลักสากลของการชุมนุม คือ ความสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งวัตถุประสงค์ของกลุ่มผู้ชุมนุมจะเกี่ยวข้องกับการต่อรองทางการเมืองและผลประโยชน์ที่อาจไม่ใช่กลุ่มที่ต้องการต่อต้านรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ดังนั้น กลไกประชาธิปไตยที่ควรจะเป็นคือจะต้องมีจุดเชื่อมระหว่างกันและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ เห็นว่ากฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมของไทยยังไม่สอดคล้องกับหลักสากลเท่าที่ควร อาทิ การให้อำนาจเจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจมากเกินความจำเป็น และไม่มีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งแนวปฏิบัติของตำรวจที่ยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายการชุมนุมสาธารณะซึ่งไม่เอื้อให้เกิดความชุมนุมอย่างสงบ โดยในการสอนเรื่องการดูแลการชุมนุมในที่สาธารณะ ได้จัดให้มีบทบาทสมมุติให้นักศึกษาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจและทราบข้อจำกัด รวมทั้งการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเห็นว่าการเจรจาจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง อีกทั้งแต่ละฝ่ายต้องมีความเข้าใจในเรื่องสิทธิและหน้าที่ และแกนนำผู้ชุมนุมต้องมีความสามารถในการควบคุมความสงบได้ 
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับฟังความเห็นจากตัวแทนนิสิต ซึ่งเห็นว่า ปัจจุบันลักษณะพิเศษของการชุมนุมคือมีการนัดรวมตัวกันแต่ไม่มีการบริหารจัดการโดยทุกอย่างเกิดขึ้นหน้างานทั้งสิ้น ในการนี้ ได้มีข้อเสนอให้รัฐใช้กฎหมายกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ หยุดการใช้กระบวนการยุติธรรมโดยมิชอบ ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดและต้องสอดคล้องกับหลักสากลที่ได้รับการยอมรับจากเวทีโลก ยึดหลักนิติรัฐ นิติธรรม มีความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งควรให้การแก้ไขปัญหาทุกเรื่องกลับเข้าสู่กระบวนการของรัฐสภา ในส่วนของผู้ชุมนุมก็จะต้องเข้าใจขอบเขตของตนเองและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการชุมนุม ตลอดจนเสนอให้คณะกรรมการฯ เข้าไปเป็นผู้สังเกตการณ์การชุมนุมด้วย
ในการนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้รับฟังความคิดเห็นและ ประสบการณ์จากตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. เมื่อปี 2553 อาทิ การถูกรัฐแจ้งความดำเนินคดีโดยไม่มีหลักฐานของการกระทำความผิด และการถูกจับคุมขังและปล่อยตัวโดยไม่มีการแจ้งใด ๆ ซึ่งเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมมีความผิดปกติ และทุกคนจะมุ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐแต่เมินเฉยกับสิ่งที่รัฐปฏิบัติต่อประชาชน ในการนี้ ได้เสนอแนะให้มีการเจรจาและให้มีการประกันตัวแกนนำ ซึ่งจะช่วยให้สถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น 
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการเข้าพบเพื่อเยี่ยมและรับฟังความคิดเห็นของผู้ต้องหาที่ยังไม่ได้รับการประกันตัวนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ และได้ประสานไปยัง รมว.ยุติธรรม เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เพื่อขอเข้าเยี่ยมผู้ต้องหา แต่ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (23 มี.ค. 64) ผู้แทนคณะกรรมการฯ จะเข้าพบเลขานุการรัฐมนตรี เพื่อหารือในประเด็นดังกล่าว

2. รายงานความคืบหน้าของคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นและสื่อสารสาธารณะ โดยได้รายงานสรุปผลการสานเสวนาประชาธิปไตยที่เยาวชนพึงปรารถนา ดังนี้
2.1.1 การสานเสวนาเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 64 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น ซึ่งในภาพรวมถือว่าประสบความสำเร็จและตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งได้มีการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายในประเด็น “ประชาธิปไตยที่เยาวชนพึงปรารถนา” โดยประเด็นร่วมที่ทุกกลุ่มปรารถนา คือ ต้องการให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
ต่าง ๆ และประชาชนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริง โดยเสนอแนวทางปฏิบัติ อาทิ
1. ปฏิรูปการศึกษา โดยบรรจุวิชาประชาธิปไตยเข้าไปในแบบเรียนของเยาวชน
2. ปรับปรุงเนื้อหาในแบบการเรียนการสอนของส่วนกลาง โดยบรรจุเนื้อหา ด้านสิทธิเสรีภาพ และความเป็นประชาธิปไตยให้มากยิ่งขึ้น 
3. เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการปฏิรูปด้านต่าง ๆ มากขึ้น
4. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยให้มีความกระชับ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและ เข้าใจได้ง่ายขึ้น รวมถึงการยกเลิกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดกับสิทธิมนุษยชน
5. รัฐผลักดันหลักนิติธรรมและปฏิรูประบบศาลให้สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ
6. รัฐส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในสิทธิเสริภาพของตน โดยจัดตั้งคณะทำงานเพื่อให้ความรู้กับประชาชน 
7. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประชาธิปไตยผ่านสื่อสาธารณะต่าง ๆ ให้มากขึ้น 

2.1.2 การสานเสวนาเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 64 ณ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา ประเด็นการสร้างความสมานฉันท์ : 5 เสาหลักความปรองดองด้วยการเจรจาสู่สันติธรรม "ร่วมกันคืนความสุขสู่สังคมไทยเพื่อส่งมอบให้ลูกหลานไทยในอนาคต" โดยแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อเสวนาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การแสวงหาความจริง ซึ่งได้เสนอให้ดำเนินการในเชิงป้องกัน แก้ไขและเยียวยา โดยต้องระบุคู่ขัดแย้งให้ได้ทั้งหมดก่อน และมีเวทีในการนำ
ข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เพื่อทบทวนข้อเท็จจริงร่วมกัน รวมทั้งมีบุคคลที่เป็นกลางดำเนินการเป็น Mediator อาทิ สถาบันพระปกเกล้า
2. การสร้างความรักและความสามัคคี ซึ่งได้เสนอให้เน้นความเสมอภาค ภารดรภาพ ให้กับประชาชนทุกฝ่าย โดยตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างสันติ
สุขสามัคคี ประกอบด้วย กลุ่มชุมชน ที่มาจากหลากหลายอาชีพ และหลากหลายองค์กร เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจสู่ชุมชน และให้ความสำคัญกับการให้เกียรติซึ่งกันและกัน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รวมทั้งต้องการเห็นภาครัฐและชุมชนสร้างหลักเกณฑ์และการอยู่ร่วมกันเพื่อขจัดความขัดแย้งและสร้างสันติวิธี
3. ความรับผิดชอบและความเป็นกลาง ซึ่งในส่วนของความรับผิดชอบ ได้เสนอให้คณะกรรมการสมานฉันท์ ควรมีอำนาจในการขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง และควรกำหนดสัญลักษณ์/ตัวแทน/องค์การกลาง ที่มีความเป็นกลางไปปรากฏในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อชะลอความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลัก ๆ รวมทั้งผู้ปกครอง สื่อมวลชน และองค์กรวิชาชีพ สำหรับเรื่องความเป็นกลางนั้น ได้เสนอให้มีการแก้ไขที่มาของคณะกรรมการสมานฉันท์ เนื่องจากมาจากฝ่ายการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ยังขาดกลุ่มเยาวชนและประชาชน
สำหรับการประชุมครั้งต่อไปในวันจันทร์ที่ 29 มี.ค. 64 นั้น คณะกรรมการฯ จะพิจารณารับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง โดยเชิญตัวแทนกลุ่มนักเรียนเลว ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ  และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็น รวมทั้งพิจารณารายงานความคืบหน้าของคณะอนุกรรมการฯ ตลอดจนกรอบการจัดทำรายงานของคณะกรรมการฯ


download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562