FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ คนที่สาม และนายสมชาย ฝั่งชลจิตร รองประธานคณะ กมธ. การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนที่สี่ รับยื่นหนังสือจาก นายพิเชษฐ์ ปานดำ สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้งและคณะ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 14.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ คนที่สาม และนายสมชาย ฝั่งชลจิตร รองประธานคณะ กมธ. การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนที่สี่ รับยื่นหนังสือจาก นายพิเชษฐ์ ปานดำ สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้งและคณะ เรื่อง ขอให้มีการตรวจสอบโครงการท่าเทียบเรือสำราญและกีฬาอ่าวกุ้งมารีน่า ภูเก็ต สืบเนื่องจากบริษัท ซีวิวแลนด์ จำกัด จะจัดทำโครงการท่าเทียบเรือสำราญและกีฬาอ่าวกุ้งมารีน่า ภูเก็ตในพื้นที่ชายฝั่งบ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนส่งรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการฯ ต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา นั้น กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง กลุ่มราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าบ้านอ่าวกุ้ง และชาวบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และพื้นที่ใกล้เคียงมีความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนก่อสร้างอ่าวกุ้งมารีน่า โดยเฉพาะในประเด็นการขุดลอกร่องน้ำที่จะใช้เป็นทางเข้าออกของเรือไปยังโครงการ ซึ่งคาดว่าจะต้องขุดลึกไม่น้อยกว่า 8 เมตร เพื่อรองรับเรือยอชต์ขนาดใหญ่ 40 เมตร นั้น จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของแนวปะการังในพื้นที่บริเวณโดยรอบอ่าวกุ้งซึ่งกำลังฟื้นตัว รวมทั้งระบบนิเวศป่าชายเลน และป่าชายเลนก็อาจถูกทำลายได้โดย จ.ภูเก็ต ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงการฯ ตามคำสั่ง จ.ภูเก็ตที่ 7468/2563 โดยกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง กลุ่มราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าบ้านอ่าวกุ้ง และชาวบ้านอ่าวกุ้งไม่เห็นด้วยกับการจัดทำโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ ในปัจจุบันหมู่ที่ 9 (ประกอบด้วยบ้านอ่าวกุ้ง บ้านชุมเพราะ บ้านหลังแดง) มีเรือชาวประมงพื้นบ้านอยู่ประมาณ 30 - 40 ลำ มีท่าเรือ 2 ท่า ได้แก่ ท่าเรือบ้านอ่าวกุ้งและท่าเรือบ้านหลังแดง ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอต่อการรองรับการจอดเรือทั้งหมด และมีองค์ประกอบที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความสะดวกของชุมชน เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางของชุมชนสามารถขึ้น - ลงได้ตลอดเวลา และมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ เช่น สะพานท่าเทียบเรือ ไฟฟ้าส่องสว่าง มีศาลาเพื่อซ่อมแซมเครื่องมือ หรือจัดเก็บสัตว์น้ำ เชื่อมต่อกับทางสาธารณะ มีร่องน้ำที่เรือสามารถเข้าออกได้ตลอดเวลา พื้นที่เหมาะสมสำหรับหลบลมมรสุม เป็นต้น จึงไม่มีความจำเป็นหรือเหตุผลเพียงพอที่จะต้องขุดพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อการเข้าออกของเรือประมงพื้นบ้าน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทรัพยากรป่าชายเลน ปะการังและชายฝั่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตลอดจนเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์ จึงไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้สูญเสียไป

ด้าน นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะขอรับเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมของคณะ กมธ. โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ร้องเรียนมาร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ในวันอาทิตย์นี้ตนจะลงพื้นดังกล่าว เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562