FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานคณะ กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม คนที่หนึ่ง และคณะ แถลงข่าว
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 28 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๒๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ รองประธานคณะ กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม คนที่หนึ่ง และคณะ แถลงข่าวถึงประเด็นการได้รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกรผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) สืบเนื่องจากเมื่อปี ๒๕๕๓ รัฐบาลเปิดให้มี
การนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ทำให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำที่สุดตั้งแต่เปิดเสรีเป็นต้นมาส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง
ไก่ไข่รายย่อยและรายกลาง และเมื่อ ๒ ปี ที่ผ่านมา มีการจำกัดโควตานำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ อยู่ที่จำนวน ๔๔๐,๐๐๐ ตัว ซึ่งคาคหวังว่าจะพอดีกับความต้องการพันธุ์ไก่ไข่และราคาไข่ไก่ในตลาด แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยมีการปั่นราคาให้ต่ำลงจากผู้ประกอบการรายใหญ่ จนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยและรายกลางได้รับผลกระทบ
และที่สำคัญพันธุ์สัตว์ คือ ลูกไก่ไข่ รวมถึงไก่ในกรง กระจายไปไม่ถึงกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยและรายกลาง แต่อยู่ในมือของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งเริ่มมีระบบการบังคับซื้ออาหารสัตว์แล้วจะสามารถ
ซื้อพันธุ์สัตว์ได้ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ๓๐ สตางค์ ต่อฟองโดยคณะ กมธ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมากจึงได้เชิญ รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยอธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมประมง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เข้าร่วมประชุม เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งได้รับข้อมูลชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้
๑. การกำหนดปริมาณการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่จำนวน ๔๔๐,๐๐๐ ตัว ที่เป็นมติของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่
และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มีปริมาณ
การเลี้ยงไก่ไข่ทั้งประเทศจำนวน ๕๐ - ๕๕ ล้านตัว และเพื่อให้ผลผลิตไข่ไก่ที่สมดุลกับปริมาณความต้องการบริโภค
ทั้งประเทศ ประมาณ ๔๐ - ๔๑ ล้านฟองต่อวัน
๒. ปัจจุบันได้มีการจัดสรรการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ให้กับ ๑๖ บริษัท ซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่มีความเป็นธรรมกับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ส่วนใหญ่ทั้งประเทศ มีเพียงแต่กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่จำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่และไม่เพียงพอและพยายามร้องเรียนเพื่อรื้อระบบการบริหารจัดการของคณะกรรมการฯที่ดำเนินการเพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อยู่ได้ และผู้บริโภคไม่เดือดร้อน
๓. จากการร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมกรณีผู้ประกอบการขายพันธุ์สัตว์พ่วงกับขายอาหารสัตว์นั้น คณะกรรมการฯ
ได้มีมาตรการควบคุมไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบและให้มีการขายอย่างเป็นธรรม โดยกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจน ซึ่งหากเกษตรกรรายใดได้รับความเดือดร้อนหรือผลกะทบสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ โดยไม่จำเป็นต้องปรับรื้อระบบการควบคุมปริมาณพ่อแม่พันธุ์ทั้งระบบเพราะจะทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่มีหลักธรรมาภิบาล รวมถึง
เกษตรกรส่วนใหญ่ทุกระดับทั้งประเทศ
อย่างไรก็ตาม รมว.เกษตรและสหกรณ์และอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ไม่ได้มีการกีดกันการจัดสรรการนำเข้า
พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ให้เพียง ๑๖ บริษัทเท่านั้น ซึ่งหากบริษัทใดต้องการเสนอมาเพิ่มเติม สามารถกระทำได้โดยขอให้เสนอข้อมูลมาตามขั้นตอน เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุม
คณะ กมธ. ได้หารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ปัญหาการขนส่ง ตลอดจนเรื่องต้นทุน
และราคาของผลิตผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) เพื่อหามาตรการเยียวยาและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรต่อไป
Download all images
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา