FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธาน สภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี เลขาธิการเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ และคณะ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 15 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2563
วันอังคารที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๖๖๓ เวลา ๑๕.๒๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว
ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธาน
สภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี
เลขาธิการเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ และคณะ เรื่องขอมีส่วนร่วม
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความปกติสุข
ความสามัคคีของราษฎรในชาติ ไม่เกิดการแทรกแซงจากต่างชาติ
โดยเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ ในฐานะองค์กรภาคประชาชน
ที่เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ โดยไม่รับเงิน
จากต่างชาติได้ติดตามความเป็นไปของบ้านเมือง และมีความห่วงใย
ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงขอเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา
ในการบริหารบ้านเมือง การแก้ไขวิกฤตความขัดแย้ง และการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ดังนี้
๑. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีจุดอ่อนและละเมิดสิทธิของประชาชน
โดยการตัดสิทธิหลายประการ อาทิ การเรียนฟรีจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
เหลือเพียงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ การไม่บัญญัติให้ประเทศไทยต้องทำตามกติกา
สากลระหว่างประเทศ
๒. ข้อเท็จจริงตามหลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
คือ การส่งตัวแทนจากการเลือกตั้งของประชาชนเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎร
ใช้อำนาจแทนประชาชน แต่ในมาตรา ๒๖๙ - ๒๗๒ ประกอบมาตรา ๒๕๖
สมาชิกวุฒิสภา ๒๕๐ คน มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ที่ไม่มีส่วนยึดโยงกับประชาชนและมีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี
เป็นสัดส่วนหนึ่งในสามของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งทำให้ตัวแทนของประชาชน
ไม่ได้เข้าสู่อำนาจตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
๓. หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรค
การเมืองกีดกันคนดีที่ไม่มีกลุ่มทุนหนุนหลัง และส่งเสริมระบบตัวแทนที่ต้องใช้ทุน
จำนวนมาก รัฐสภาจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งหลักเกณฑ์
การลงคะแนนที่มีช่องว่างไม่ให้เกิดการลงคะแนนโดยมิชอบ
๔. องค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม
ควรมาจากการคัดเลือกจากประชาชนโดยตรง
๕. เสนอให้ยกเลิกแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗๙ ซึ่งถือเป็นการนิรโทษกรรมสูงสุด
๖. สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ควรมาจากภาคประชาชนทั้งหมด ไม่ควร
มาจากนักวิชาการหรือกลุ่มที่แต่งตั้งโดยฝ่ายการเมือง
๗. ประเด็นกลุ่มผู้ชุมนุม รัฐสภาและรัฐบาลควรหาทางสร้างความปรองดอง
และสร้างความเข้าใจอันถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในสังคม
โดย นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะรับเรื่องดังกล่าว
นำกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งต่อไปยังคณะกมธ. พิจารณา
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....
(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕๖ และเพิ่มหมวด ๑๕/๑) ต่อไป ซึ่งความคิดเห็น
ของทุกท่านล้วนแต่มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพิจารณาของคณะ กมธ. และการแก้ไข
ปัญหาให้กับประเทศ
Download all images
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา