วันจันทร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๔๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นางสาววทันยา วงษ์โอภาสี และนางสาวพิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล
โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ แถลงข่าวสรุปผลการประชุม เพื่อพิจารณางบประมาณของ
คณะ กมธ. ครั้งที่ ๒๑ เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ ส.ค. ๖๓ และครั้งที่ ๒๒
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ส.ค. ๖๓ โดยคณะ กมธ. ได้ใช้เวลาในการพิจารณามา
แล้วทั้งหมด ๒๑ วัน รวม ๑๗๑ ชั่วโมง จากจำนวนทั้งหมด ๒๓๗ ชั่วโมง
ซึ่งมีหน่วยงานที่ผ่านการพิจารณาแล้ว จำนวนทั้งสิ้น ๑๓ กระทรวง ๑ กลุ่มหน่วยงาน ๑๑ กองทุน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๒ จากหน่วยงานทั้งสิ้น ๒๐ กระทรวง ๙ กลุ่มหน่วยงาน ๒๖ กองทุน ๑๔ แผนบูรณาการ โดยกระทรวงที่คณะ กมธ. ได้พิจารณางบประมาณแล้ว คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง แรงงาน และกระทรวงวัฒนธรรม สำหรับการพิจารณางบประมาณของ กระทรวงวัฒนธรรมในภาพรวมนั้น กมธ. ได้มีการหารือเกี่ยวกับกรอบ การดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมี กมธ. ให้ความเห็นว่ากระทรวงวัฒนธรรมตีความคำว่าวัฒนธรรมในเชิงแคบ ซึ่งควรมีแนวคิดเชิงกว้างคือเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตประเพณีปฏิบัติของ คนในชาติในแต่ละยุคสมัยและยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ชาติด้วย ส่วนในเรื่องของการบูรณะโบราณสถานและ โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมต่าง ๆ นั้น นอกเหนือจากการบูรณะเพื่อรักษา โบราณสถานให้คงอยู่แล้ว หน่วยงานควรบูรณะโบราณสถาน
เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย
ซึ่งในประเด็นนี้ กมธ. เห็นว่าหน่วยงานยังดำเนินการไม่เต็มที่ นอกจากนี้การพิจารณางบประมาณของสำนักปลัดกระทรวง วัฒนธรรม กมธ.ยังได้หารือเกี่ยวกับการให้ประชาชน เข้าถึงโบราณสถานให้มากขึ้น โดยอนุญาตให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการบูรณะได้เพราะจะทำให้เกิดความรักและหวงแหน โบราณสถานสำหรับการพิจารณางบประมาณในส่วนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม ๑๑๖ หน่วยงาน) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาที่ประชุมใช้วิธีการประชุมทางไกลเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ผู้ชี้แจงและเป็นการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ โดยการพิจารณา งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในภาพรวม กมธ. ได้หารือ เกี่ยวกับการใช้งบประมาณที่เห็นว่าไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของการจัดสรร งบประมาณ โดยมี กมธ.ให้ข้อเสนอแนะว่า งบของจังหวัดมีการนำไปก่อสร้าง ถนนซึ่งเป็นงบประมาณตามภารกิจอันเป็นภารกิจของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมอยู่แล้วโดยเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณที่ผิด วัตถุประสงค์ จึงควรนำงบประมาณไปจัดสร้างถนนที่ใช้ในการท่องเที่ยวหรือ เพื่อการค้าในเส้นทางสายรองจะเป็นประโยชน์มากกว่า ส่วนในการพิจารณา งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการท้องถิ่นโดยเฉพาะเทศบาลต่าง ๆ ที่ได้ขอรับการจัดสรร งบประมาณแต่ไม่ได้รับการจัดสรรที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะด้านการศึกษาและด้านสังคม ซึ่งที่ประชุมได้ มอบหมายให้สำนักงบประมาณ และคณะอนุ กมธ. ท้องถิ่นฯ พิจารณา ต่อไป |