วันพฤหัสบดีที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๔๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายวีระกร คำประกอบ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ คนที่หนึ่ง พร้อมด้วย
นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม รองประธานคณะ กมธ. คนที่สอง
และนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ โฆษกคณะ กมธ. แถลงข่าวผลการ ประชุมว่า คณะ กมธ. ได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาในการทำ ฝนหลวงเพื่อแก้ไขภัยแล้ง โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุม ซึ่งคณะ กมธ. มีความกังวลต่อสถานการณ์ภัยแล้งเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุน ของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล ที่สามารถใช้การได้ ประมาณ ๔,๕๐๐ - ๔,๙๐๐ ล้าน ลบ.ม. ซึ่งต้องใช้สำหรับผลักดันน้ำเค็ม ประมาณ ๓,๕๐๐ ล้าน ลบ.ม. ผลิตน้ำประปาประมาณ ๒,๕๐๐ ล้าน ลบ.ม.
อุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมประมาณ ๓,๔๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ทำให้ยังขาดน้ำต้นทุนประมาณ ๒,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ล้าน ลบ.ม.
เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
อีกทั้ง คณะ กมธ. ยังศึกษาไม่แล้วเสร็จ ทำให้ไม่สามารถส่งผลการศึกษาและ ข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลได้ทันต่อสถานการณ์ จึงขอให้รัฐบาลวางแผนแก้ไขปัญหา ดังกล่าวโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนระหว่างแม่น้ำ แม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง เพื่อลดการใช้น้ำสำหรับ
ผลักดันน้ำเค็มในอนาคต
นอกจากนี้ คณะ กมธ. จะลงพื้นที่ไปศึกษาดูงานโครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขง
มายังแม่น้ำเลยใน จ.เลย ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล และเป็นอีกหนึ่ง แนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขภัยแล้งอย่างยั่งยืน |