วันอังคารที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรชัย อินทร์สุขนายศุภดิช อากาศฤกษ์ และนายเอกภพ เพียรพิเศษ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ แถลงข่าวสรุป
ความคืบหน้าผลการประชุมพิจารณางบประมาณของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ ก.ค. ๖๓ โดยคณะ กมธ. ได้ใช้เวลาในการ พิจารณามาแล้วทั้งหมด ๘ วัน รวม ๖๐ ชั่วโมง จากจำนวนทั้งหมด ๒๓๗ ชั่วโมง ซึ่งมีหน่วยงานผ่านการพิจารณาแล้ว จำนวนทั้งสิ้น ๓ กระทรวง ๒ กองทุน คิดเป็นร้อยละ ๗.๒ จากหน่วยงานทั้งสิ้น ๒๐กระทรวง / ๙ กลุ่มหน่วยงาน/ ๒๖กองทุน
/๑๔ แผนบูรณาการ
ทั้งนี้ คณะ กมธ. ได้พิจารณางบประมาณของ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรียบร้อยแล้วเมื่อวานนี้ เป็นการประชุม
ครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ ก.ค. ๖๓ ซึ่งคณะ กมธ.ได้เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น. และเลิกประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.โดยในการประชุม เมื่อวานนี้ คณะ กมธ. ได้มีการพิจารณางบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จำนวน ๒ หน่วยงาน จาก ๑๕ หน่วยงาน งบประมาณทั้งสิ้น ๒๙,๙๓๕,๐๙๘,๖๐๐ บาท ดังนี้ ๑. กรมควบคุมมลพิษ งบประมาณทั้งสิ้น ๖๖๐,๒๕๐,๒๐๐ บาท ๒. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม งบประมาณทั้งสิ้น ๕๘๖,๕๑๑,๕๐๐ บาท ในการพิจารณางบประมาณของ กรมควบคุมมลพิษ คณะกรรมาธิการฯ ได้มีการหารือ เกี่ยวกับเรื่องของปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM ๒.๕ โดยได้ สอบถามหน่วยงานเกี่ยวกับมาตรฐานของฝุ่นละอองตามเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ของประเทศไทย ว่าค่ามาตรฐานอยู่ที่ ๕๐ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ค่ามาตรฐาน ที่เหมาะสมควรอยู่ที่๒๕ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรคณะกรรมาธิการฯ จึงได้สอบถามหน่วยงานว่า มีระยะเวลาการดำเนินการตามแผนนานเท่าใด กว่าที่จะทำให้ประเทศไทยมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ ๒๕ ไมโครกรัมต่อลูกบาศเมตร ซึ่งหน่วยงานได้ชี้แจงว่าหน่วยงานได้มีการตั้งมาตรฐานตามคำแนะคำ ขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่หน่วยงานมีแผนที่จะปรับค่ามาตรฐานให้เป็น ๒๕ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในอนาคตนอกจากนี้ คณะ กมธ.ได้สอบถาม หน่วยงานเกี่ยวกับแผนงานของหน่วยงานที่จะนำค่าAir Quality Health Index (AQHI) มาเป็นเกณฑ์ในการวัดค่าฝุ่นละออง ของหน่วยงานสามารถนำการวัดค่านี้ มาใช้ได้หรือไม่เพราะการวัดค่าฝุ่นละอองรูปแบบนี้สามารถเปรียบเทียบ ค่าอากาศว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนหรือไม่
อย่างไร หน่วยงานได้ชี้แจงว่า หน่วยงานได้มีความร่วมมือกันระหว่าง
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และกรมอนามัยในการวัดค่ามลพิษส่วนในวันนี้
จะเป็นการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓ ในวันอังคารที่ ๒๑ ก.ค. ๖๓ ซึ่งหลังจากคณะ กมธ.พิจารณางบประมาณของ ๒ หน่วยงาน ซึ่งค้างการพิจารณาต่อจากเมื่อวานเสร็จแล้ว คณะ กมธ.จะมีการพิจารณา งบประมาณของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่ออีก ๑๐ หน่วยงาน เป็น ๑๒ หน่วยงานจนครบทั้ง๑๕ หน่วยงาน งบประมาณทั้งสิ้น ๒๙,๙๓๕,๐๙๘,๖๐๐ บาท อย่างไรก็ตามในวันนี้
คณะ กมธ.จะพิจารณางบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ ไปจนถึงเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา
ซึ่งโฆษก กมธ.จะนำเสนอรายงานความคืบหน้าต่อไป |