วันศุกร์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑
อาคารรัฐสภา นายวรภพ วิริยะโรจน์ โฆษกคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน รับยื่นหนังสือจาก นางสาวพาลีนี งามพริ้ง ตัวแทนผู้ประกอบการรายย่อย (SME) เพื่อขอให้ตรวจสอบมาตรการ
ปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยจากธนาคารต่าง ๆ ของรัฐ อันเนื่องมาจากผลกระทบโควิด-๑๙ ซึ่งหลาย ๆ มาตรการมีเงื่อนไขที่ทำให้ ผู้ประกอบการรายย่อย และร้านค้าปลีกกว่า๑๐๐ ราย ประสบปัญหา ในการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องใช้ เอกสารประกอบการขอสินเชื่อเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการ ไม่สามารถจัดหาเอกสารได้ และทำให้ต้องใช้เวลาในการพิจารณาสินเชื่อ ต่อรายล่าช้าและในส่วนของธนาคารออมสินนั้น มีการตั้งเงื่อนไข หลักประกันที่สูง ทำให้ประชาชนที่ไม่มีหลักประกัน ไม่สามารถกู้เงินได้ เนื่องจากรายได้ของผู้ประกอบการช่วงสามเดือนที่ผ่านมานั้น ได้รับผลกระทบ จากโควิด-๑๙ ส่งผลให้รายได้ลดลงกว่าร้อยละ ๙๐ และบางกิจการ ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงอยากขอให้ กมธ. ช่วยดูแลเรื่อง หลักเกณฑ์ต่าง ๆ จากธนาคารรัฐ โดยอยากขอให้ช่วยผ่อนปรนหลักเกณฑ์ ในการพิจารณา หรือหาหลักเกณฑ์อื่นมาเพื่ออนุโลม หรือผ่อนปรน
เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้
เพราะหากยังคงหลักเกณฑ์เช่นนี้ หากสภาพการณ์จะทำให้ผู้ประกอบการ รายย่อยไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากรัฐบาลได้ นายวรภพ กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา
ของกมธ. อย่างเร่งด่วนต่อไป
นอกจากนี้ นายวรภพ ได้กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพลังงานมีมติเห็นชอบ
การจัดทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติฉบับใหม่ (Global DCQ) เป็นระยะเวลา ๑๐ ปี ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยจะมีการลงนามในสัญญาประมาณ กลางเดือน มิ.ย. นี้ เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ก.ค. ๖๓ เป็นต้นไป โดยไม่ให้ กฟผ. เปิดประมูลแข่งขัน และไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดในสัญญา ต่อสาธารณะโดยอ้างว่าเป็นเหตุผลและความมั่นคงทางพลังงานนั้น เป็นการทำสัญญาแบบผูกขาดและไม่โปร่งใส และอาจจะกลายเป็น สาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงกว่าเดิม จึงขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนและ ประชาชนทุกคนช่วยกันจับตามอง และตั้งคำถามต่อประเด็นดังกล่าว อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภค
และความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคนโดยตรง |