วันพุธที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา ณ จุดแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายสมบัติ ศรีสุรินทร์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามระบบการเงิน การคลัง และระบบ เศรษฐกิจ และคณะ แถลงข่าวว่าที่ประชุมคณะอนุ กมธ. ได้มีการพิจารณาผลกระทบจาก สถานการณ์เศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ๑. มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดสถาน ประกอบการชั่วคราวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ มี.ค.๖๓ เช่น การปิดสถานบันเทิง สถานบริการ โรงหนังโรงละคร สนามกีฬา เป็นตัน โดยภาครัฐต้องมีมาตรการในการเยียวยาทาง ภาษีสำหรับผู้ประกอบการและมาตรการทางรายได้สำหรับผู้ใช้แรงงานในระหว่างหยุดงาน ตลอดจน การจ้างงานหลังพ้นกำหนดหยุดงานชั่วคราว และสร้างแรงจูงใจไม่ให้เดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายของโรค ๒. ข้อคิดเห็นของคณะอนุ กมธ. ต่อมาตรการการเงิน มีดังนี้ ๒.๑ ให้ดำเนินการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินอย่างเร่งด่วน โดยปรับปรุง เงื่อนไขให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ๒.๒ ให้ดำเนินการแก้ไขหลักเกณฑ์ในการชำระเงินสมทบประกันสังคม โดย เฉพาะอย่างยิ่งในการลดยอดชำระเงินสมทบในสัดส่วนของลูกจ้าง ๓. ข้อคิดเห็นของคณะอนุ กมธ. ต่อมาตรการการคลัง มีดังนี้ ๓.๑ ควรปรับปรุงมาตรการแบ่งเบาภาระให้ผู้ประกอบการนำค่าจ้างแรงงานมาหักเป็น ค่าใช้จ่ายจำนวน ๓ เท่า โดยขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเปรียบเทียบจำนวนการจ้างงานจากวันที่ ๓๑ ธ.ค. ๖๒ มาเป็นวันที่ ๓๑ มี.ค. ๖๓ และให้สามารถหักลดหย่อนได้จนถึง ๓๑ ธ.ค.๖๓ ๓.๒ นอกเหนือจากการขยายเวลาชำระภาษีของปี พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้ว รัฐบาลควรพิจารณา ผ่อนภาระทางภาษีเพิ่มเติมทั้งสำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนทั้งทาง ตรงและทางอ้อม
|