FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
กมธ.ศึกษาและแก้ปัญหา PM ๒.๕ ตั้ง "ม.ล.ดิศปนัดดา" นั่งประธานอนุ กมธ. นำทัพขับเคลื่อนภารกิจแรกแก้วิกฤตฝุ่น PM ๒.๕ ภาคเหนือ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 16 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2563

       น.ส.ธณิกานต์  พรพงษาโรจน์  ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะที่ปรึกษาคณะ กมธ.

วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕)

อย่างเป็นระบบ เปิดเผยว่า สถานการณ์หมอกควันฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM ๒.๕ โดย

เฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงเป็นที่กังวลของทุกภาคส่วน ซึ่งล่าสุดวันนี้กรมควบคุมมลพิษ

ได้แจ้งปริมาณฝุ่น PM ๒.๕ พบค่าสูงสุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ๓๕๑ มคก./ลบ.ม. ซึ่งได้รับ

ผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดน ทำให้ฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

ที่ยังคงพบจุดความร้อนในพื้นที่ใกล้เคียง ส่งผลให้ฝุ่นละอองเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นในวันนี้คณะ

กมธ. จึงได้มีมติแต่งตั้ง คณะอนุ กมธ. เพื่อให้วางแนวทางขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและนำไปสู่การ

ปฏิบัติ โดยแต่งตั้งให้ ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล เป็นประธาน เริ่มปฏิบัติหน้าที่วันนี้เป็นวันแรกด้าน

ม.ล.ดิศปนัดดา กล่าวว่า เป้าหมายของคณะอนุ กมธ. คือ การคืนลมหายใจที่สะอาดให้คนไทย

การจัดการกับฝุ่น PM ๒.๕ ตลอดจนการบริหารจัดการยกระดับสิ่งแวดล้อมด้าน Air Quality

อย่างเป็นรูปธรรม จากข้อมูลของ World Resources Insitution พบว่า สาเหตุหลัก ๔ ประการ        

ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมาจากการปล่อยคาร์บอน ภาคพลังงาน (ผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิส เป็นต้น)

ร้อยละ ๕๑.๘ ภาคเกษตรกรรม (เกษตรเชิงเดี่ยว การเผาป่า การเผาพื้นที่เกษตร เป็นต้น)

ร้อยละ ๑๖.๕ ภาคคมนาคม (เชื้อเพลิงเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ดีเซล เป็นต้น) ร้อยละ ๑๗.๘ ภาคอุตสาหกรรม

ร้อยละ ๑๓.๙ ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเหนือที่เป็นประเด็นกังวลอยู่ในขณะนี้ สาเหตุหลักมาจากการเผาพื้นที่

ป่าต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ ๙๐ โดยแนวทางการขับเคลื่อนจะมีทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว

ซึ่งจะเป็นการบูรณาการการใช้ข้อมูลที่มีอยู่และแนวนโยบายของแต่ละกระทรวง ตลอดจนจะมีการลงพื้นที่

จริงรับฟังจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การร่างกฎหมายและการสร้างแผนต้นแบบ มีเครื่องมือหรือทางเลือก

ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่จะทำให้ประชาชนอยู่ได้โดยไม่สร้างมลพิษ โดยชุมชน อยู่ได้ ประชาชนอยู่ได้

ประเทศอยู่ได้


download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562