วันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา ณ จุดแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) อย่างเป็นระบบ คนที่หนึ่ง แถลงสรุปผลการดำเนินงานของคณะ กมธ. ซึ่งได้มีการประชุมมาแล้ว ๗ ครั้ง ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ม.ค. ๖๓ ถึงวันที่ ๑๖ มี.ค. ๖๓ โดยได้เชิญหน่วยงานมาชี้แจงทั้งสิ้น ๖๖ หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ทั้งนี้ กมธ. มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาศึกษาข้อมูลและรวบรวมประเด็นปัญหา เพื่อส่งต่อไป ยังรัฐบาลให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีประเด็นการพิจารณาในแต่ละหน่วยงาน ดังนี้ หน่วยงานภาครัฐ จำนวน ๕๐ หน่วยงาน มีประเด็นการพิจารณา จำนวน ๑๒ ประเด็น ดังนี้ ๑. แหล่งกำเนิดและผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) มาตรการและวิธีการ ปฏิบัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องและปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ๒. ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) ๓. มาตรการและวิธีการปฏิบัติของกระทรวงเกี่ยวกับการควบคุมการเผาอ้อยก่อนตัดของ เกษตรกร เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ ๔. ข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง มาตรการด้านภาษีในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรและ กลุ่มเกษตรกรเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้แก่เกษตรกรทำการเกษตรแบบลดการปล่อย ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ๕. การกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ๖. มาตรการและวิธีการควบคุมราคาหน้ากากอนามัยที่มีราคาสูง แนวทาง และมาตรการควบคุม ราคาอ้อยและน้ำตาล ๗. ข้อมูลการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ในการประกอบพิธีทางศาสนาและ พิธีฌาปนกิจศพ ๘. ภาษี ประกอบด้วย ๑) ต้นทุนภาษีมูลค่าเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงและไบโอดีเซล พิกัดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม และผลิตภัณฑ์น้ำมัน มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อส่งเสริม การใช้พลังงานทดแทนหรือ พลังงานสะอาด ๒) สถานการณ์รวมทั้งมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการปล่อยมลพิษและปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ของโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ๙. สถานการณ์รวมทั้งมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการปล่อยมลพิษและปัญหาฝุ่น ละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ของโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ๑๐. แนวทางการผลักดันการใช้ก๊าซ NGV และพลังงานทดแทนอื่น ๆ ในภาคการขนส่ง ๑๑. การจัดซื้อจัดจ้างรถดับเพลิงวัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์ และการจำหน่ายพัสดุตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ๑๒. สถานการณ์และผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาป่า และหมอกควันที่ก่อ ให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) สำหรับหน่วยงานเอกชนและภาคประชาชน จำนวน ๘ หน่วยงาน มีประเด็นการพิจารณา จำนวน ๖ ประเด็น ดังนี้ ๑) การแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ๒) การใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ๓) การแก้ไขปัญหาการทำลายป่าต้นน้ำ ๔) แนวทางการผลักดันการใช้ก๊าซ NGV และพลังงานทดแทนอื่น ๆ ในภาคการขนส่ง ๕) การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) อย่างเป็นระบบ เพื่อรับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕ ) ที่เกี่ยวข้อง กับภาคการขนส่งทางบกปัญหาทางด้านสุขภาพที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กและการเผาพื้นที่ ทางการเกษตร ๖) การใช้อาหารและโภชนาการเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันในการป้องกันภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ส่วนหน่วยงานภาควิชาการ จำนวน ๘ หน่วยงาน มีประเด็นการพิจารณา จำนวน ๔ ประเด็น ดังนี้ ๑) การปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ในการประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีฌาปนกิจศพ ๒) การปล่อยมลพิษและการเปรียบเทียบมลพิษ (Emission Comparisons) ที่เกิดจากเครื่องยนต์ ประเภทต่าง ๆ และข้อมูลการรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงประเภทเอทานอล (Fugitive Emission from Ethanol) และปัญหาสำคัญที่เกิดจากสารมลพิษทางอากาศทุติยภูมิ (Secondary Pollutants) ๓) ขั้นตอนการสำรวจความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบ จากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ๔) การใช้ใบอ้อยทำแบตเตอรี่ เพื่อลดการเผาในที่โล่ง
|