FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนสมาชิกรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความเข้าใจและตระหนักในเรื่องเพศสภาพ (Gender Sensitivity Training Workshop) เป็นวันที่สอง

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 14 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2563

          วันอังคารที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๓ ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์ กรุงเทพฯ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์

สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนสมาชิกรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความเข้าใจ

และตระหนักในเรื่องเพศสภาพ (Gender Sensitivity Training Workshop) เป็นวันที่สอง โดยในช่วงเช้า

ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับจำนวนวันลาคลอดในกลุ่มประเทศสมาชิก AIPA โดยประเทศ

สมาชิก AIPA ที่มีจำนวนวันลาคลอดมากที่สุดคือ ฟิลิปปินส์ จำนวนวันน้อยที่สุดคือ กัมพูชา สำหรับ

ประเทศไทยอยู่ในระดันปานกลางคือ แม่ของเด็กสามารถลาได้ จำนวน ๙๘ วัน และพ่อของเด็กสามารถ

ลาได้ จำนวน ๑๕ วัน ตามกฎหมาย

          ในการนี้ ที่ประชุมมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมเรื่องการเพิ่มจำนวนวันลาคลอด ซึ่ง

นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า การพิจารณาเรื่องดังกล่าว ควรศึกษาข้อคิดเห็นและ

ผลกระทบจากผู้ประกอบการภาคธุรกิจร่วมด้วย รวมทั้งพิจารณาโอกาสและความเป็นไปได้ในการได้รับ

การจ้างงานของผู้หญิงด้วยเช่นกัน พร้อมกันนี้ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มประชากรหญิงและ

ชายภายในประเทศ รวมทั้งประเด็นปัญหาที่กระทบต่อความเท่าเทียมกันทางเพศและการส่งเสริม

ขีดความสามารถของผู้หญิงในประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ปัจจุบันจำนวนประชากรหญิง

และชายในประเทศไทยมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยผลสำรวจของนักวิจัยในปี ๒๕๖๒ ผู้หญิงไทย        

มีการศึกษาและมีความสามารถในการทำงานนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้นำเพิ่มขึ้น

ด้วย ซึ่งในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ผู้หญิงไทยมีบทบาทในการเป็นผู้นำร้อยละ ๔๒

เป็นอันดับสาม รองจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

          ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะออกกฎหมายที่ครอบคลุม รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการ

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว แต่ยังคงพบกรณีที่ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม โดย

ประเด็นความท้าทายที่สำคัญในปัจจุบัน คือ เรื่องอัตราค่าจ้างค่าตอบแทน โอกาสและความก้าวหน้าที่

ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติได้ร่างและแก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ทันเหตุการณ์

รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในปัจจุบันประเทศไทยมี พ.ร.บ. ค

วามเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ให้ความสำคัญกับการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๒) ที่ดูแลกรณีที่งานมีลักษณะและ

คุณภาพเช่นเดียวกัน ปริมาณเท่ากันนายจ้างจะต้องกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาเท่าเทียมกันไม่ว่าลูกจ้าง

จะเป็นชายหรือหญิง นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเพื่อร่าง พ.ร.บ. หุ้นส่วนทางแพ่งเพื่อประกันสิทธิทาง

กฎหมายของกลุ่ม LGBTI ด้วย

เครดิต : ภาพและข่าวโดยสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562