|
|
วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายมานพ คีรีภูวดล โฆษกคณะกมธ. วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... และคณะ แถลงข่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... มีที่มาตามประกาศแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม เมื่อวันที่ 6 เม.ย.61 เรื่อง ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง โดยส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 และมอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ. ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน คณะกมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ได้มีการติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และ สส.ได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ถึง 2 ฉบับ คือ (1) ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ.
. โดย นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สส. พรรคก้าวไกล กับคณะ เป็นผู้เสนอ (2) ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.
. น.ส. ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส. พรรคเพื่อไทย กับคณะ เป็นผู้เสนอ รวมทั้ง ภาคประชาชน ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อีก 2 ฉบับ คือ (1) ร่าง พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ.
. โดย นายศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 12,888 คน เป็นผู้เสนอ (2) ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ.
. โดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 14,954 คน เป็นผู้เสนอ โดยจะเห็นได้ว่า การขับเคลื่อนกฎหมายชาติพันธุ์เป็นวาระที่สำคัญของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดัน ถือเป็นความก้าวหน้าของประเทศไทยที่จะก้าวสู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่โอบรับคนทุกกลุ่มวัฒนธรรมไว้อย่างเสมอภาคกัน ซึ่งหลักการของร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... มีเจตนารมณ์ให้เป็นกฎหมาย คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิทางวัฒนธรรม ตามหลักการของรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 ที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ โดยมีหลักการ 3 ประการดังนี้ 1. คุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม ยึดหลักสิทธิทางวัฒนธรมโดยให้การคุ้มครองชาวไทยทุกกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิในการเลือกดำรงวิถีชีวิตตามจารีตประเพณีและวัฒนธรรม รวมทั้งคุ้มครองการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมืองของรัฐ 2. ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์โดยมองว่าความเป็นชาติพันธุ์ คือ โอกาสแห่งการพัฒนา โดย ส่งเสริมศักยภาพ สร้างกลไกการมีส่วนร่วมให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาเป็น หุ้นส่วน ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 3. สร้างความเสมอภาค บนหลักการของการให้ ความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรม ด้วยการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมี ศักดิ์ศรี ให้หลักประกันความเท่าเทียมที่มีโอกาสเข้าถึงอย่างเสมอภาพเพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับ ความก้าวหน้าของการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ได้มีการประชุมมาแล้วจำนวน 22 ครั้ง และในวันนี้ (1 ส.ค. 67) ได้มีการพิจารณารายละเอียด ในรายมาตรา ครบทั้ง 35 มาตรา ตามร่าง พ.ร.บ. ที่คณะรัฐมนตรีเสนอ โดยเป็นการพิจารณาเห็นชอบในหลักการร่างมาตราต่าง ๆ ในเบื้องต้น ทั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนร่างทั้งฉบับในประเด็นการใช้ถ้อยคำให้สอดคล้องกันทั้งฉบับ ก่อนที่จะมีการนัดหมายคณะกมธ. วิสามัญประชุมเพื่อลงมติรายมาตราอีกครั้ง สำหรับ วันที่ 9 ส.ค.67 นี้ จะเป็นวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 ซึ่งจะมีการจัดงานขึ้น ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ) |
|
|
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
|
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า |
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
|
|
|
|
|
|
|