วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.15 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายสุรทิน พิจารณ์ สส.พรรคประชาธิปไตยใหม่ แถลงข่าวเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ แสดงจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาการเมืองในเมียนมาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
จากปัญหาการเมืองภายในเมียนมา ทำให้เกิดสงครามการสู้รบภายในประเทศเป็นระยะเวลามากกว่า 70 ปี แต่สถานการณ์การสู้รบในห้วง 3 ปีที่ผ่านมานี้มีความรุนแรงและเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าที่ผ่าน ๆ มา มีบ้านเรือนถูกเผาทำลาย 83,746 หลังคาเรือน ประชาชนเสียชีวิต 4,875 คน ในจำนวนนี้เป็น เด็ก 613 คน มีประชาชนถูกจับกุม 26,500 คน ได้รับการปล่อยตัว 6,173 คน ยังถูกคุมขังอยู่ 20,327 คน และยังมีประชาชนลี้ภัยสงคราม จำนวน 2,6000,000 คน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ส่งผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะมีอาณาเขตติดกับเมียนมา ดังนั้นประเทศไทยจะต้องมีจุดยืนที่เข้มแข็ง และควรที่จะเสนอตัวเป็นตัวกลางเป็นเจ้าภาพในการหาทางเจรจากับทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะหากการปล่อยให้มีการสู้รบ หรือปล่อยให้มีการเจรจากันเองของคู่ขัดแย้งภายในเมียนมาคงไม่ได้ข้อยุติใด ๆ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น หากประเทศไทยยังปล่อยให้สถานการณ์ภายในเมียนมาดำเนินไปอย่างที่ผ่านมา ประเทศไทยจะประสบปัญหาทั้งในเรื่องของผู้ลี้ภัยสงครามจากเมียนมาจะทะลักเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ปัญหาอาชญากรรมและปัญหายาเสพติดก็จะเพิ่มมากขึ้น และอาจจะต้องประสบกับปัญหาการสู้รบตามบริเวณแนวชายแดนมีกระสุนตกเข้ามาในฝั่งประเทศไทย สร้างความหวั่นวิตกและความหวาดกลัวให้ประชาชนคนไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ในฐานะที่เลือกนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงอยากสอบถามถึงจุดยืนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่ารัฐบาลจะมีแนวทางเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งภายในเมียนมาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร พร้อมทั้งเสนอว่ารัฐบาลควรใช้โอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการพูดคุยเจรจาเพื่อหาข้อยุติให้กับคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย เพื่อไม่ให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบ
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562