วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และคณะ แถลงข่าวผลการประชุมคณะ กมธ.ว่าวันนี้ (23 พ.ย. 66) คณะ กมธ.ได้พิจารณา จำนวน 2 ประเด็นสำคัญคือ 1. เรื่องติดตามภารกิจรับมือบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ มนุษยชนภายในประเทศรวมถึงเกิดกรณีผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่จะเข้ามาสู่ในประเทศไทย และเศรษฐกิจชายแดน เรื่อง กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1.1 ตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทย 1.2 ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ 1.3 ตัวแทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยมองว่าสถานการณ์ยังอยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ซึ่งทั้งสองหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าเมียนมาจะสามารถรับมือกับปัญหาภายในได้ ส่วนด้านมหาดไทย ได้ยื่นยันตัวเลขผู้หนีภัยสงครามตามแนวชายแดนไทยฝั่งตะวันตก ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้มีผู้หนีภัยบางส่วนได้กลับไปแล้ว โดยเฉพาะทาง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ของไทย แต่หากความรุนแรงมากขึ้นกว่านี้รัฐบาลต้องมีการเตรียมมาตรการการรับมือในมิติสิทธิมนุษยชนและด้านเศรษฐกิจ
2. การพิจารณาเรื่องร้องเรียนตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เรื่องขอให้ช่วยเหลือกรณีผู้ต้องขังคดีการเมืองไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวและกรณีไม่ให้สิทธิในการพักโทษแก่นักโทษเด็ดขาดในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ โดยมี ข้อเรียกร้องให้ ตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาขอบเขตและข้อจำกัดทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิในการประกันตัวสำรวจและทบทวนกรณีการบังคับใช้กฎหมายในหมวดความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและมาตรา 112 เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงทั้งด้านนโยบายและข้อกฎหมาย รวมทั้งสำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการพักโทษแก่นักโทษการเมืองและผู้ต้องหาคดี 112 เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งคณะกมธ. ได้มีมติ ดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาศึกษาเรื่องร้องเรียนนี้ โดยตั้ง นายปิยรัฐ จงเทพ เป็นประธานคณะทำงานทำหนังสือส่งข้อห่วงใยต่อสถานการณ์ความขัดแย้งถึงรัฐบาลเพื่อให้เตรียมแนวทางรับมือสถานการณ์ที่มีแนวโน้มขยายวงกว้างมากขึ้นในอนาคต 2. มอบหมายให้ นายมานพ คีรีภูวดล รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่หนึ่ง รับผิดชอบร่างหนังสือของ กมธ. เรื่องติดตามภารกิจรับมือบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ถึง รัฐบาล เป็นการเร่งด่วน 3. ตั้งอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษากฎหมายความมั่นคง 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 2.พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2557 3. พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548โดยมี นายรอมฎอน ปันจอร์ เป็นประธานอนุกมธ. 4. ส่งหนังสือขอประชุมร่วมกับ กมธ.ตำรวจ ในวันที่ 7 ธ.ค. 66 ต่อกรณีที่ กมธ.ตำรวจ โดยเชิญ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มาตอบข้อซักถามของ กมธ.เนื่องจากเหตุกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีการกล่าวพาดพิงเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ซึ่งอาจจะเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ |