วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ นายปิยรัฐ จงเทพ โฆษกคณะ กมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ นายมานพ คีรีภูวดล คณะ กมธ. และคณะ ร่วมกัน แถลงข่าวผลการประชุม คณะ กมธ. นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา คณะ กมธ. ได้เดินทางลงพื้นที่พบปะกับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม เพื่อหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวนโยบายตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของแต่ละหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งรัฐและกิจการชายแดน รวมถึงการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างทุกมิติและเรื่องที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องการรุกรานชายแดนโดยการหารือมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือทั้งหมด 9 หน่วยงาน โดยได้สอบถามถึงประเด็นกระท่อมที่ได้ออกจากการเป็นยาเสพติดแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมีการขายใบกระท่อมอย่างหลากหลายคณะกรรมาธิการมีความเป็นห่วงจึงได้สอบถามกระทรวงยุติธรรมว่าจะทำอย่างไรให้ใบกระท่อมกลับมา ใช้ในทางการแพทย์ การตรวจสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์สัญชาติของทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จะทำอย่างไรที่จะทำให้กระบวนการตรวจดีเอ็นเอรวดเร็ว ซึ่งได้รับคำตอบว่าสถาบันนิติวิทยาศาสตร์อยากจะทำให้เร็วแต่ขาดเรื่องงบประมาณซึ่งทางคณะ กมธ. รับทราบปัญหาของทางสถาบันฯ และจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ต่อไป ประเด็นเรื่องการปิดล้อมและตรวจค้นในการบังคับจัดเก็บสารพันธุกรรม คณะ กมธ. เห็นว่ามีควรต้องมีความยินยอมก่อนจึงจะตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังได้สอบถาม ถึงประเด็นผู้ถูกหมายจับในคดียาเสพติดที่มีการหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้รับการชี้แจงว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการแจ้งประสานกับชนชนกลุ่มน้อยซึ่งผู้หลบหนีได้ไปอยู่ให้ส่งผู้หลบหนีกลับมายังประเทศไทย และได้สอบถามประเด็นทนายอาสาตามสถานีตำรวจ ได้รับชี้แจงว่าทนายอาสาเป็นของสภาทนายความที่เป็นผู้ริเริ่ม แต่กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณเชื่อว่าจะมีการทำงานร่วมกับกระทรวงยุติธรรมอย่างราบรื่นและได้จะได้ให้การสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนงานของกระทรวงยุติธรรมได้มากขึ้น
จากนั้น นายมานพ คีรีภูวดล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในวันนี้ เป็นการประชุม ครั้งที่ 3 ที่ประชุมได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา ผู้ลี้ภัย และผู้หนีภัยสู้รบในประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ลี้ภัยมี 4 กลุ่ม กลุ่มแรกกลุ่มที่อยู่มาก่อนแล้วมีประมาณ 70,000 ถึง 90,000 คน ปัญหาสำคัญคือคนเหล่านี้ยังอยู่ในที่พักพิงชั่วคราว และปัญหานี้เกี่ยวข้องกับประเทศไทยที่ไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศและยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการจัดการผู้ลี้ภัยจึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เด็กจำนวนมากที่เกิดในที่แห่งนี้ไม่สามารถกลับไปสู่มาตุภูมิได้ ทางข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติได้มีแนวทางจัดการผู้อพยพเหล่านี้ไปอยู่ในประเทศที่สาม โดยมีนโยบายดำเนินการภายใน 7 ปีๆ ละ 10,000 คน โดยภาคประชาชนได้นำเสนอว่าควร ออกสถานะบุคคลที่เป็นผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง
กลุ่มที่สองคือกลุ่มผู้หนีภัยสู้รบอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว มีอยู่ 5 จุดในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน พี่น้องเครือข่ายคณะทำงานเสนอว่าระยะยาวควรมีพื้นที่ปลอดภัยในเขตพื้นที่เพื่อไม่ให้มีการอพยพเข้ามา
กลุ่มที่สามกลุ่มอพยพที่อยู่ในเมืองมีประมาณ 5000 ถึง 10,000 คน สถานะมีทั้งชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายและหลบหนีอยู่แบบ ไม่สามารถเปิดเผยตัวตนได้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ลี้ภัยทั้งที่เป็นปัญหาระหว่างประเทศและปัญหาของผู้ลี้ภัยเอง
กลุ่มที่สี่ กลุ่มเปราะบางที่มีความอ่อนไหวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอยู่ในมิติความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่น กลุ่มโรฮิงญา อุยกูร์ ซึ่งคณะ กมธ. นำมาพิจารณาเพื่อหาแนวทางเสนอแนะกับฝ่ายบริหารต่อไป
ด้าน นายปิยรัฐ จงเทพ กล่าวถึงมติที่ประชุมในวันนี้ว่า ที่ประชุมมีมติ 4 ประเด็น ดังนี้ 1. กำหนดการเดินทางไปศึกษาดูงาน และจัดสัมมนา ของคณะกรรมาธิการความมั่นคง ณ ด่านผ่านแดนถาวรช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ในปลายเดือน พ.ย. 66 เพื่อศึกษาปัญหาตามแนวชายแดน อาทิ เรื่องการค้าชายแดนเรื่องการค้ามนุษย์ และแหล่งกลบดานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 2. กำหนดการลงพื้นที่ร่วมกับสมาชิกรัฐสภาอาเชียน เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงในเด็นการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมชายแดนไทย - เมียนมา ที่ จ.เชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอนในวันที่ 14 - 16 พ.ย. 66 โดยที่ประชุม ได้มอบหมายให้ตัวแทนคณะ กมธ. เข้าร่วมตามกำหนดการดังกล่าว 3. คณะกมธ. มีมติเบื้องต้น กำหนดเข้าพบ รมว. กลาโหม ในวันที่ 30 ต.ค. 66 เพื่อเข้าพบประชุมหารือ แลกเปลี่ยนระหว่างฝ่ายสภานิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นความมั่นคงของรัฐ 4. สำหรับการประชุมคณะกมธ. ครั้งที่ 4 ใน สัปดาห์หน้า (26 ต.ค. 66) ทางคณะ กมธ. ความมั่นคงฯ จะได้เชิญผู้บริหารหรือตัวแทนฯ เข้าร่วมประชุม กับคณะ กมธ. ได้แก่ 1. ผู้บัญชาการทหารบก 2 . ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 3. ปลัดกระทรวงมหาดไทย 4. สภาความมั่นคงแห่งชาติ |