FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าการตรวจรับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 4 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าการตรวจรับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ 

โดยนายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ได้มีอำนาจลงนามตรวจรับ ซึ่งการตรวจรับต้องเป็นผู้จ้างคือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับผู้รับจ้างคือบริษัทที่รับจ้าง ตนไม่มีอำนาจโดยตรงในการตรวจรับเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของตน และตนต้องการให้การตรวจรับอาคารรัฐสภาเป็นไปโดยเร็วเพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากอาคารแห่งนี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ และต้องการขับเคลื่อนการมีรัฐสภาโปร่งใสจึงต้องเริ่มต้นจากเรื่องนี้ให้ได้

ทั้งนี้ กรอบเวลาของการก่อสร้างโดยสรุป คือ เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 56 มีการลงนามสัญญาก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่พร้อมอาคารประกอบต่อมามีการส่งมอบที่ดินเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 56 จึงถือว่าวันที่ 7 มิ.ย. 56 เป็นวันแรกของสัญญา มีการกำหนดระยะเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 900 วัน คือภายในวันที่ 24 พ.ย. 58 แต่ติดปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า จึงมีการขยายระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 1,864 วัน โดยไม่มีการคิดค่าปรับ เนื่องจากเป็นการขยายสัญญาจากสำนักงานฯ คือผู้ว่าจ้างและการขยายสัญญาจำนวน 1,864 วันนี้ สิ้นสุดในวันที่ 31 ธ.ค. 63 จากนั้นเมื่อผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานตามระยะเวลาที่กำหนดได้ สำนักงานฯ สามารถคิดค่าปรับได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 เป็นต้นมา จนมาถึงวันที่ 18 ก.ย. 66 ซึ่งได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจการจ้างว่ามีการประชุมหารือเพื่อรับมอบงานจากผู้รับจ้าง และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ดังนั้น ระยะเวลาที่ก่อสร้างที่ล่าช้าคือ 990 วัน การคิดค่าปรับคิดเป็นรายวัน ๆ ละร้อยละ 0.1 หรือ 12,280,000 บาท จากมูลค่าของสัญญา 12,280,000,000 ล้านบาท ผู้รับจ้างจะใช้สิทธิ์ในการขอค่าปรับเป็นศูนย์ใน 2 กรณี คือ 1) มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 มีการให้หน่วยงานรัฐให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยคิดค่าปรับเป็นศูนย์เป็นระยะเวลา 827 วัน จากคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ซึ่งทางสภาฯ โดยคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา (กวพ.รส.) ได้มีมติให้นำหนังสือดังกล่าวมาปรับใช้กับสัญญาก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งนี้และทางสำนักงานฯ และผู้รับจ้างได้แก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 15 ให้เป็นไปตามแนวทางของรัฐบาลในสมัยนั้นซึ่งคิดเป็นจำนวน 10,155,560,000 บาท นี่คือมาตรการแรกที่ไม่สามารถคิดค่าปรับจากผู้รับจ้างได้ เพราะเป็นมาตรการของรัฐบาลในช่วงโควิด-19 2) มาตรการการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 59 ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นนานมาแล้วและได้รับทราบจาก กวพ.รส. ว่ามีมติเห็นชอบให้นำมาตรการช่วยเหลือกรณีค่าแรง 300 บาท มางดหรือลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างเป็นเวลา 150 วัน แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการแก้ไขสัญญาการก่อสร้างแล้วหรือยัง หากมีการแก้ไขสัญญาจริงจะถือเป็นการงดเว้นค่าปรับให้ผู้รับจ้างอีก 1,842,000,000  บาท เมื่อรวมมาตรการงดหรือลดค่าปรับทั้ง 2 กรณี ที่กล่าวมาข้างต้น คือ มาตรการโควิด-19 และมาตรการช่วยเหลือค่าแรงขั้นต่ำ ผู้รับจ้างจะได้รับการยกเว้นค่าปรับรวมทั้งหมด 11,997,560,000 บาท ทำให้ไม่สามารถคิดค่าปรับผู้รับจ้างได้ 

นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานและที่ปรึกษาบริหารโครงการเป็นจำนวนวันละ 332,140 บาท เป็นเวลา 990 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 ถึงวันที่ 18 ก.ย. 66 ยอดสุทธิ 328,818,600 บาท ซึ่งปกติแล้วหากผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้กับผู้ควบคุมงานและที่ปรึกษาบริหารโครงการ นี่คือกรอบเวลาและมติทั้งหมดที่เกิดขึ้นที่รวบรวมได้จากการติดตามกรณีดังกล่าว

ทั้งนี้ เมื่อรับทราบข้อเท็จจริงแล้ว ภายใต้การนำของเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรท่านเดิม ยังไม่สามารถตรวจรับอาคารรัฐสภาแห่งนี้ได้ และเรื่องนี้ต้องดำเนินการต่อในส่วนของรักษาการเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่าจะเดินหน้าในการจัดการเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งความเห็นของเสียงข้างน้อย ผู้รับจ้างจะสามารถแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร และมีการเริ่มต้นคิดค่าปรับจากการที่ไม่สามารถทำตรงตามแบบเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไร อย่างไรเป็นสิ่งที่จะเข้ามาชี้แจงเพิ่มเติม สำหรับมาตรการต่าง ๆ ที่มีการทำให้เกิดการยกเว้นค่าปรับนั้นเกิดขึ้นในสองรัฐบาล โดยเรื่องนี้ทางฝ่ายกฎหมายของสภาฯ สามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง แต่ที่คิดว่าไม่ได้แน่นอนคือมาตรการโควิด-19 ซึ่งบังคับใช้ในหลายโครงการของรัฐ และเป็นตัวเลขที่ตรงกันคือ 827 วัน แต่สิ่งที่ต้องตามดูต่อคือการแก้ไขสัญญามาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เรื่องนี้มีมติหรือรายละเอียดอย่างไร จะติดตามต่อไปเพราะเป็นมูลค่ากว่า อีก 1,842,000,000  บาท นี่คือสาเหตุของที่มาที่ไปของค่าปรับ และเป็นเหตุผลว่าทำไมเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา เราไม่สามารถตรวจรับอาคารรัฐสภาแห่งนี้ได้ สำหรับการตรวจรับอาคารรัฐสภาขึ้นกับกรรมการตรวจรับฯ และการตรวจรับได้จะต้องแล้วเสร็จร้อยละ 100
download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562