FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ สส.พรรคก้าวไกล และคณะ รับยื่นหนังสือจาก น.ส.สุพีชา เบาทิพย์ ผู้แทนกลุ่มทำทางและเครือข่ายทำแท้งปลอดภัย เรื่อง ขอเสนอแนวทางการผลักดันการบังคับใช้กฎหมายทำแท้งฉบับใหม่

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 20 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ สส.พรรคก้าวไกล และคณะ รับยื่นหนังสือจาก น.ส.สุพีชา เบาทิพย์ ผู้แทนกลุ่มทำทางและเครือข่ายทำแท้งปลอดภัย เรื่อง ขอเสนอแนวทางการผลักดันการบังคับใช้กฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ ให้ตอบสนองต่อความเดือดร้อนของประชาชนอย่างแท้จริง การทำแท้งที่ปลอดภัย จัดเป็นบริการสาธารณสุขพื้นฐานจำเป็น ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ อนามัยเจริญพันธุ์ที่สำคัญของขององค์การอนามัยโลก ที่จะทำให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDG) ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ 3 การสร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และสร้างการมีความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับคนในทุกช่วงวัย โดยเสนอการแก้ไขเพิ่มประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ 305 เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์ และเงื่อนไขจาก 12 - 20 สัปดาห์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา ที่กฎหมายผ่านเมื่อสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว เมื่อเดือน ก.พ.64 แต่วันนี้ยังเป็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย  จึงทำให้ผู้หญิงที่ท้องโดยไม่พร้อม ได้มีการทำแท้งผิดกฎหมายและมีอันตรายถึงชีวิต จึงขอเสนอ  ให้ สส.ดำเนินการดังนี้ 
1) ต้องมีการสำรวจตัวเลขสถานการณ์การทำแท้งที่เป็นจริง  
2) เพิ่มสถานบริการให้ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อลดภาระจังหวัดที่ให้บริการ และลดภาระการที่ประชาชนต้องเดินทางไปรับบริการต่างจังหวัด  
3) บังคับใช้กฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ ให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐต้องให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้สนับสนุนงบประมาณครั้งละ 3,000 บาท อย่างน้อยจังหวัดละ 1  แห่ง  
4) ลดอคติของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงเรื่องความปลอดภัย ความจำเป็นเรื่องการทำแท้งปลอดภัย    
5) สร้างความเข้าใจในสังคมทั่วไป ว่า การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพที่จำเป็นที่รัฐต้องจัดให้มีบริการ เข้าถึงได้ง่าย ปลอดภัยและเป็นเรื่องสิทธิของผู้รับบริการ รวมทั้งให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานบริการที่มีอยู่ รวมถึงสิทธิในการเข้ารับบริการ

นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์  กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า พรรคก้าวไกลมีความห่วงใยต่อปัญหาดังกล่าว ซึ่ง ซึ่งกฎหมายการยุติการตั้งครรภ์ ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 เมื่อเดือน ก.พ. 64 แต่มีปัญหากับการบังคับใช้กฎหมาย คือ  
1.ปัญหาการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ คือการปฏิเสธการตั้งครรภ์ตามกฎหมายและไม่ส่งต่อสถานพยาบาล2. การกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เอื้อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการได้ 
3. การขาดระบบกำกับและควบคุมมาตรฐานเรื่องการส่งต่อผู้หญิงที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย และ4.จำนวนสถานพยาบาลที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ยังไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด ซึ่งมีเพียง 47 จังหวัดที่ลงทะเบียนไว้จำนวน 110 สถานพยาบาล แต่ที่ให้บริการจริงครอบคลุมเพียง 38 จังหวัดเท่านั้น  
5. สิ่งที่สำคัญ คือ การเพิ่มการประชาสัมพันธ์ถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ชัดเจน ว่าการยุติการตั้งครรภ์ปลอดภัย คือ การยุติการตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ซึ่งพรรคก้าวไกลจะผลักดันกฎหมายฉบับนี้ ร่วมกับทุกพรรคการเมือง  

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562