FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส. พรรคก้าวไกล และคณะ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 6 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพุธที่ 6 กันยายน 2566 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ  ห้องแถลงข่าว  ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส. พรรคก้าวไกล และคณะ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีหลักการและเหตุผล แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้ของลูกหนี้ที่ร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการ แก้ไขเพิ่มเติมลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อมให้สามารถเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการได้มากขึ้น และสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว และกำหนดให้บุคคลธรรมดาสามารถฟื้นฟูฐานะได้ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันและประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ และมีกระบวนการที่ไม่ซับช้อน ทั้งนี้ ลูกหนี้ยังคงเป็นผู้บริหารกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการ อีกทั้งกำหนดจำนวนหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้  เพื่อให้สามารถร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันโดยเพิ่มเติมกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัด เพื่อใช้เป็นทางเลือกให้แก่ลูกหนี้  อีกทั้งสมควรกำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา และให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้  เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งคุ้มครองเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำให้กระบวนการพื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

นายวรภพ วิริยะโรจน์ กล่าวว่า ในยุคที่หนี้ครัวเรือนพุ่งเกิน ร้อยละ 90 ของจีดีพี และการแก้หนี้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ของเศรษฐกิจไทย ตนและพรรคก้าวไกลจึงขอเสนอและผลักดันเร่งแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร ช่วยแก้ปัญหาลูกหนี้ทั้ง SMEs และบุคคลธรรมดา ให้สามารถหาทางออกสำหรับปัญหานี้สินได้โดยร่างกฎหมายฉบับนี้ สาระสำคัญคือ การให้ลูกหนี้ผู้ประกอบการรายย่อย SMEs สามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้สะดวกขึ้น และเพิ่มสิทธิให้ลูกหนี้บุคคลธรรมดา ยื่นขอฟื้นฟูฐานะ  ฟื้นฟูหนี้สินได้เหมือนลูกหนี้ธุรกิจด้วย เพื่อให้ลูกหนี้สามารถขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถูกฟ้องล้มละลายก่อนได้ซึ่งถือเป็นสิทธิของลูกหนี้ในหลากหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะสิทธิในการขอฟื้นฟูกิจการและฟื้นฟูฐานะ จะทำให้ลูกหนี้สามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้สินล้นพ้นตัวได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลล้มละลาย และเพื่อหาข้อสรุปและทางออกที่เป็นธรรมกับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกัน จากเดิมที่จะต้องให้ลูกหนี้เจรจากับเจ้าหนี้ทีละราย ซึ่งทำให้ปัญหาหนี้สินไม่สามารถหาทางออกได้ จะทำให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้กับเศรษฐกิจไทยที่พึ่งฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดและกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น ร่างแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลายฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่พิจารณาค้างในสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่แล้ว และกรรมาธิการจากทุกพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ได้เห็นชอบร่วมกันมาแล้ว จึงมีความจำเป็นจะต้องยื่นร่างกฎหมายฉบับนี้อีกครั้งและหวังว่า สภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จะสนับสนุนและร่วมกันผลักดันร่างดังกล่าว เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนให้กับเศรษฐกิจไทยได้โดยเร็ว

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562