หน้าหลัก สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อประชาชน ศูนย์ข้อมูลนิติบัญญัติ คณะกรรมาธิการ วิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ศูนย์ประชาคมอาเซียน สำนักงาน
หน้าแรก รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ๒๕๕๗ กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่สปช. โครงสร้างสปช. การคัดเลือกสมาชิกสปช.
พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสปช. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสปช. การแต่งตั้งคณะกมธ.ยกร่างรธน. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกมธ.ยกร่างรธน. อำนาจหน้าที่คณะกมธ.ยกร่างรธน.
การพิจารณาร่างรธน. การสิ้นสุดสปช.และคณะกมธ.ยกร่างรธน. การแต่งตั้งคณะกมธ.สปช. เงินเดือนสมาชิกสปช.และกมธ.ยกร่างรธน. คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสปช.
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
เลขานุการวิป สปช. แถลงข่าวเกี่ยวกับขั้นตอนการประชุมในวันที่ ๖ ก.ย.นี้

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 4 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันศุกร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๔๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑   นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) แถลงข่าวเกี่ยวกับขั้นตอนการประชุมในวันที่ ๖ กันยายน การสิ้นสุดการทำงานของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและผลงานที่ผ่านมาว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเห็นว่า การทำงานของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ทำงานอย่างเข้มแข็งและบรรลุผลสำเร็จภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดไว้ทุกประการ เช่น มีการดำเนินการจัดทำวิสัยทัศน์ออกแบบอนาคตประเทศในการขับเคลื่อนประเทศ เพื่อสู่การปฏิรูปได้สำเร็จพร้อมจัดทำพิมพ์เขียวและได้ส่งมอบพิมพ์เขียวเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญตามคำขอแก้ไขพร้อมนำส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ตลอดจนรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี ๒๕๕๗ และแก้ไขเพิ่มเติมปี ๒๕๕๘ ได้กำหนดให้ตั้งประเด็นคำถามที่สมควรให้มีการออกเสียงประชามติหรือไม่ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวจะมีการพิจารณาในวันที่ ๖ กันยายนนี้ และสมาชิกทุกคนมีความพร้อมในการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะเริ่มประชุมในเวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ถ้าสมาชิกมีมติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ต่อจากนั้นจะมีการพิจารณาเรื่องที่ค้างพิจารณาคือเรื่อง สภาปฏิรูปแห่งชาติควรมีประเด็นคำถามที่สมควรให้มีการออกเสียงประชามติหรือไม่ ถ้ามีสมาชิกลงมติเห็นชอบก็จะพิจารณาญัตติต่อจำนวน ๒ เรื่องคือ เรื่องขอเสนอประเด็นให้มีการปฏิรูปประเทศอีก ๒ ปี ก่อนจัดการเลือกตั้งและญัตติเรื่อง การมีกลไกป้องกันและขจัดความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงหลังการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติให้เสนอประเด็นในการลงประชามติตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว มาตรา ๓๗ วรรคสี่และวรรคห้า ในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น ได้มอบให้สมาชิกมองเจตนารมณ์ หลักการและเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้และสถานการณ์ข้างหน้า ตลอดจนเป้าหมายและกลไกของประเทศเป็นสำคัญ
download download Download all images download
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (เริ่มนับ ๘ ก.ย. ๕๗)
 
กลับไปที่เมนูด้านบน